ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร (The Relationship Between Knowledge Management And Creativity of Supporting Staffs in Silpakorn University)

Main Article Content

นพรัตน์ มีศรี (Nopparat Meesri)
อมรินทร์ เทวตา (Amarin Tawata)

Abstract

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร  2) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร 3) ศึกษาอิทธิพลเชิงบวกของการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  คือ พนักงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยศิลปากร  จำนวน 290  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความรู้ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร  โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  x = 3.57, S.D. = 0.708) 2) ระดับความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x  = 3.65,   S.D. = 0.612)  3)  การจัดการความรู้ด้านที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความคิดสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย  ด้านการแสวงหาความรู้ (β = 0.102 , Sig. = 0.046) ด้านการสร้างความรู้  (β = 0.201 , Sig. = 0.000) ด้านการวิเคราะห์และจัดทำคลังความรู้ (β = 0.134 , Sig. = 0.002) ด้านการประยุกต์ใช้และการทำให้ข้อมูลถูกต้องเที่ยงตรง (β = 0.425 , Sig. = 0.000) 


 


                 This research aimed 1) to investigate knowledge management level of supporting staffs in Silpakorn university 2) to investigate creativity level of supporting staffs in Silpakorn university 3) to investigate the influence of knowledge management that positively affected the supporting staffs’ creativity. The samples consisted of 290 supporting staffs. Data collection was  adopted  by  using questionnaires. The data analysis was  done  by  means, standard  deviation and multiple regression.The results presented that  1) the overall level of knowledge management of the supporting staffs is at high level (x = 3.57, S.D. = 0.708) 2) the overall creativity level of the supporting staffs is at high level    ( x = 3.65, S.D. = 0.612) 3) aspects of knowledge management affect  the supporting staffs’ creativity  with  statistical  significance at  0.05 level including knowledge acquisition (β = 0.102 , Sig. = 0.046)  knowledge creation (β = 0.201 , Sig. = 0.000)  knowledge analysis and warehouse (β = 0.134 , Sig. = 0.002) knowledge application and validation (β = 0.425 , Sig. = 0.000).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ