การศึกษาการรับรู้ภาษาจีนของนักศึกษาหลักสูตรสองปริญญา สาขาวิชาการสอนภาษาจีน ในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Study The Acquisition Of Two-Degree Chinese Students As A Second Language Faculty Of Education Silpakorn University)

Main Article Content

ทรรศนีย์ โมรา (Tassanee Mora)

Abstract

                 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาษาจีนของนักศึกษาหลักสูตรสองปริญญา สาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการรับรู้ภาษาจีนนักศึกษาหลักสูตรสองปริญญา สาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรหลักสูตรสองปริญญา จำนวน  47 คน  และกลุ่มอาจารย์ชาวจีนจำนวน 4 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงร่าง (Structured interview) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภายนอกด้านการเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเองส่งผลต่อการรับรู้ภาษาจีนของนักศึกษาหลักสูตรสองปริญญาอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x= 3.65 , S.D.= .83 )  และด้านการรับข้อมูลทางภาษาและการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x= 3.48 , S.D. = 1.14) ด้านกิจกรรมและวิธีการสอนของผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x= 3.11, S.D. = .04) และปัจจัยภายในด้านผู้เรียนส่งผลต่อการรับรู้ภาษาจีนของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลางซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (x = 3.09, S.D. = .99 ) โดยปัจจัยภายนอกด้านการรับข้อมูลทางภาษาและการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยภายนอกด้านกิจกรรมและวิธีการสอนของผู้สอนส่งผลต่อการรับรู้ภาษาจีนของผู้เรียนมากกว่าปัจจัยอื่น 2) แนวทางการพัฒนาการรับรู้ภาษาจีนนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นควรพัฒนาการทํางานร่วมกับผู้อื่น พัฒนาความเข้าใจด้านวัฒนธรรมคํานึงถึงความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น เอาชนะข้อจำกัดในการพูดและการเขียน มุ่งความสนใจสู่การเรียนรู้ และพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียน


 


                  This research aims to: 1) study the acquisition of the two-degree Chinese language teaching students as foreign languages. Faculty of Education 2) to study the ways of improving Chinese students' acquisition of Chinese as a foreign language Faculty of Education Silpakorn University. Research samples are 47 students in the Silpakorn University and 4 Chinese teachers. Research tools Is a questionnaire and structured interview. Using an average Standard deviation and content analysis the research found that understanding and acceptance of self-differentiated cultures, have a significant effect on the Chinese acquisition of two-degree students. The mean was (x= 3.65, S.D. = .83) and the language acquisition and interaction were moderate. The mean was (x= 3.48, S.D. = 1.14), and the activity and teaching activities of the instructors were moderate. The mean scores were (x= 3.11, S.D. =.04). And the internal factors affecting students' acquisition of Chinese language are at a moderate level, which is equal to the average (x= 3.09, S.D. = .99).2) In order to improve the Chinese students' acquisition of Chinese language, they should develop their work with others. Develop a cultural understanding of the thoughts and feelings of others. Overcome the limitations of speaking and writing. Focus on learning. And develop the learners interested in the lesson.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ