สาเหตุการขาดเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และการแก้ไข (Absentee Cause of Mathayomsuksa 6 Students and Solution) Absentee Phenomena Of Mathayoumsuksa 6 Students : Cause And Solution

Main Article Content

สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา (Siriyupin Suthanatphakchana)

Abstract

               การวิจัยสาเหตุการขาดและการแก้ไขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 : เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของการขาดเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยของรัฐ   2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา การขาดเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนดังกล่าว ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกครูผู้สอนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการให้รหัส(coding)และการจัดกลุ่ม(categolizing) ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการศึกษาหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแล้ว โดยประชากร เป็นนักเรียนและครูผู้สอน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2/2559 โรงเรียนสาธิตดังกล่าว ประกอบด้วยครูผู้สอน 26 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 285 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรข้างต้นเป็นนักเรียน จำนวน 165 คน และครูผู้สอน จำนวน 26คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สาเหตุของการขาดเรียนของนักเรียน ได้แก่ 1) สาเหตุด้านครูผู้สอน 2)สาเหตุด้านตัวผู้เรียนเอง 3) สาเหตุด้านสภาพแวดล้อม และ 4) เหตุผลและเงื่อนไขของการขาดเรียน ผลการวิจัยเชิงปริมาณสนับสนุนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ดังรายละเอียดคือ 1) สาเหตุการขาดเรียน ด้านครูผู้สอนตามความเห็นของผู้เรียนได้แก่ การสอนไม่น่าสนใจ, ครูขาดการดูแลเอาใจใส่, ครูเข้มงวดมากเกินไป และครูเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นบางบุคคล โดยความเห็นค้งกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.83 , SD. = 0.18) 2) สาเหตุการขาดเรียน ด้านตัวผู้เรียน ได้แก่ เพื่อนชักจูง, ไม่มีความสนใจในเนื้อหาวิชา, ตื่นไปเรียนไม่ทัน, คิดว่าไปเล่นเกมสนุกกว่า, มีปัญหากับเพื่อนจึงไม่เข้าเรียน, มีปัญหากับครอบครัวจึงไม่เข้าเรียน, ครูผู้สอน และไม่รู้เกณฑ์การจบการศึกษาในม.ปลาย โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{x} =2.40 , SD.= 0.88) 3) สาเหตุการขาดเรียนด้านสภาพแวดล้อมได้แก่ สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ เหมาะสมกับการเรียน, จำนวนผู้เรียนมากเกินไป และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนไม่เพียงพอต่อผู้เรียน โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x} = 2.57 , S.D. = 1.02) 4) เหตุผลและเงื่อนไขในการขาดเรียน ได้แก่ การขาดเรียนทุกครั้งนักเรียนมีเหตุจำเป็นเสมอ, ทุกครั้งของการขาดเรียนผู้ปกครองรับทราบเสมอ, การขาดเรียนมีผลต่อเวลาเรียนในรายวิชา, การเดินทางมาเรียนมีผลต่อการเรียน, การได้รับคะแนนเพิ่มจากเวลาเรียนทำให้สนใจที่จะมาเรียนในวิชามากขึ้น, การกระตุ้นของผู้สอนในรายวิชามีส่วนทำให้มาเรียนมากขึ้น, การจัดกิจกรรมที่หลากหลายในวิชาทําให้นักเรียนเกิดความต้องการในการเข้าเรียนเพิ่มขึ้น, อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาเป็นปัจจัยที่ทําให้นักเรียนขาดเรียน, อาจารย์สั่งงานและการบ้านเยอะ และนักเรียนพึงพอใจต่อการวัดและประเมินผลการเรียนที่ได้โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.26 , S.D. = 0.78) 5. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น เหตุผลและปัจจัยในการขาดเรียนของนักเรียนจำแนกตามเพศ พบว่าการขาดเรียนของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่


 


               แนวทางการแก้ไขปัญหา การขาดเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


            ด้านตัวผู้เรียน 1) โรงเรียนเสริมกิจกรรมให้นักเรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนด้วยกันเองหรือนักเรียนกับครูผู้สอนช่วยให้ครูรู้จักนักเรียนดีขึ้น ให้กำลังใจ รับฟังและช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนของนักเรียน2) ช่วยให้เห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความถนัดและความชอบ ในการเรียนตามความสามารถของตนเอง 3) โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การเลือกที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เช่น โครงการแนะแนวสู่อนาคต 


            ด้านครูผู้สอน 1) จากวิธีการสอนรูปแบบเดิมสู่การปรับเปลี่ยน ทั้งบทบาทของครูและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น เช่น การนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน 2) โรงเรียนจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สอน โดยใช้การอบรม เช่น เทคนิคการสอน, การใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย ด้าน  ICT มาใช้ในการสอน, จิตวิทยาการสอนให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียน , การให้ความรู้ครูผู้สอนด้านการวัดประเมินผลฝึกทักษะปฏิบัติของผู้เรียน


 


             The purposes of this study were to; 1) study the problems and causes of students absence in the second semester of academic year 2016 of a demonstrating school of a public university in the East of Thailand and, 2) suggest solutions to the problems of the students absence. The researcher employed a mixed methods research collecting both a quantitative and qualitative data starting from the qualitative data collection followed by a quantitative data collection. The research participants for a qualitative part consisted of 3 teachers and 10 students. The populations for the quantitative part were 285 students studying at Mathayomsuksa 6 level and 26 instructors who were teaching Mathayomsuksa 6 class. The research instrument for a qualitative part was an in-dept interview and the research instrument for a quantitative part was a questionnaire with 5 scales rating. The data analysis employed for the qualitative method was coding and categorizing. The statistics for quantitative data analysis were mean and standard deviation


              


The findings were as follows:


  1. The cause of absence relating to instructor in general and each item were rated at a moderate level ( gif.latex?\bar{x}= 2.83, S.D. = 0.18) 

  2. The causes of absence relating to their own selves both in overall and each item were rated at a moderate level ( gif.latex?\bar{x}= 2.40, S.D. = 0.88)

  3. The cause of absence concerning environment both in overall and each item were rated at a moderate level ( gif.latex?\bar{x}= 2.57, S.D. = 1.02).

  4. Reasons and causes of absence were that: students always give the good reason for being absent, the students’ parents were informed of the absence, the absence affected their class attendance restriction, attending class benefit them, class attendance scores motivate them to go to the class, teacher stimulation encourage to attend the class, preparing different class activities encourage them to attend the class, classroom teacher is the cause of absentee, too much assignment and homework cause the absence. When considered in overall and each item they were rated at moderate level ( gif.latex?\bar{x}= 3.26, S.D. = 0.78) 

  5. The comparison of the reasons and causes of the absence classified by gender it was found that there was no significant difference.

The suggested solutions to the problem:


               Solutions relating to students were as follows: 1) the school creates interactive activities for students and students, students with teachers in order to provide student motivation, better understanding between teachers and students and supporting from teachers to students. 2) The school provides opportunity for students to better access to the information concerning college study such as guide for college study project. The solution relating to teachers were: 1) changing teacher roles as well as teaching strategy to motivate student to learn such as using ICT to maximize the student learning. 2) the school develop the teachers’ teaching competence such as providing training on teaching technique, the use of ICT in supporting learning and teaching, the application of psychological theories appropriate to learning and teaching of the student age, and the assessment of students skill during their practice.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts