ทุนทางสังคมกับความสำเร็จในการบริหารจัดการบุคคลากรและเครือข่ายการทำงาน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (Social Capital as A Key Successful Factor of Human Resources and Networking Management : A Case Study of -) Social Capital as A Key Successful Factor of Human Resources and Networking Management : A Case Study of Ban Phaeo Hospital (Public Organization), Ban Phaeo District, Samutsakorn Province

Main Article Content

จิรพรรณ นฤภัทร (Jiraphan Naruepatr)

Abstract

               บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมในการบริหารจัดการบุคลากร และเครือข่ายการทำงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) และเพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิของรัฐ ศึกษาด้วยวิธีวิจัยคุณภาพแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ทบทวนข้อมูลทุติยภูมิ  คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงในอำเภอบ้านแพ้ว ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการเข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม  ผลการศึกษาพบ ฐานทุนทางสังคมสำคัญคือ ความไว้วางใจและการต่างตอบแทน สร้างขึ้นโดยภาวะผู้นำในการบริหารจัดการของทีมผู้บริหาร เป็นทุนทางสังคมหลัก ก่อให้เกิดทุนทางสังคมอื่นๆ ทั้งบรรทัดฐานหรือวัฒนธรรมองค์กรและเครือข่ายการทำงาน ในและนอกอำเภอบ้านแพ้ว  รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมในการบริหารจัดการบุคคลากรและเครือข่าย เริ่มจาก “ทีมผู้สนับสนุน” ขับเคลื่อน “ผู้ปฏิบัติการหลัก” ได้แก่ แพทย์และพยาบาลวิชาชีพ และเครือข่ายการทำงาน เกิดการให้บริการมีมาตรฐาน คุณภาพดุจญาติ  หมุนเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อความยั่งยืนของทุนทางสังคมคือ สนับสนุนการรวมกลุ่มไม่เกี่ยวกับงานและไม่เป็นทางการและความท้าทายจากการขาดแคลนผู้บริหารระดับกลางที่ช่วยปรับพฤติกรรมของพนักงานปฏิบัติ  อาจกระทบวัฒนธรรมคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการ


 


               The research article aimed to study the social capital development model of human resource and networking management of Ban Phaeo hospital, and to study the successful factors applied for the secondary-level, state hospital. Analytical description research comprised literature review, purposive sampling of the key informant in Ban Phaeo district, in-depth interview and participant observation. The study found the fundamental social capital was trust and reciprocity, built up by the Management team’s leadership. The leadership factor was the core social capital bringing the followings, both social norms or corporate culture and networks, in and out Ban Phaeo district.  Ban Phaeo hospital’s model to develop social capital on human resource and networking management, was begun by “Supporting Team” to move “Core Implementators”; professional doctors and nurses, and networks, resulting the service delivery with standard and quality. The Model was repeated as continuous cycle. The suggestions were the support for not-working and informal group gathering, and the challenge to lack of the middle-level management, who leaded to staff’s behavior change, having an effect on Hospital’s standard and quality culture. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ