การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและ ความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Development of a Business English Reading Cooperative Learning Model to Enhance Reading Comprehension, Critical Reading Skills and Business Ethic Awareness for Undergraduate Students of the Faculty of Management Science, Silpakorn University)

Main Article Content

รุ่งนภา ชีวรัศมี (Rungnapha Chewarussamee)
บำรุง โตรัตน์ (Bamrung Torut)
เสงี่ยม โตรัตน์ (Sa-ngiam Torut)
ปราณี นิลกรณ์ (Pranee Nilakorn)

Abstract

                 การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจ  2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจ ตามเกณฑ์ 75/75 3) ประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจใน 2 ประเด็น 3.1 ) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการเรียนและศึกษาขนาดของผล 3.2) เปรียบเทียบความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจก่อนและหลังการเรียนและศึกษาขนาดของผล และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น


               กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มแบบง่ายมา 1 กลุ่มเรียนจากนักศึกษาที่ลงทะเบียน 4 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนที่เน้นเนื้อหาด้านจริยธรรมธุรกิจจำนวน 10 บท 2) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบวัดความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจ 4) แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบ: นักศึกษาควรได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นการสอน ขั้นการเรียนเป็นกลุ่ม ขั้นตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่ม และขั้นประเมิน 2) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ: ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอนและผลการสอบหลังเรียนด้วยรูปแบบ (E1 / E2)  เท่ากับ 79.72/74.90 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) การประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ 3.1) คะแนนสอบหลังเรียนด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ตามผลการทดสอบจริง และมีขนาดของผลเท่ากับ 11.03 แสดงว่ามีขนาดใหญ่มาก (Cohen, 1988) 3.2) คะแนนระดับความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ตามผลการทดสอบจริงและมีขนาดของผลเท่ากับ 8.60 แสดงว่ามีขนาดใหญ่มาก (Cohen, 1988) และ 4) นักศึกษามีความเห็นเชิงบวกกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในระดับมาก


 


                The purposes of this research were: 1) to study the problems and needs in developing a Business English Reading Cooperative Learning Model to enhance reading comprehension, critical reading skills and business ethic awareness; 2) to develop a Business English Reading Cooperative Learning Model to enhance reading comprehension, critical reading skills and business ethic awareness for undergraduate students with the efficiency 75/75 ; 3) to evaluate the efficiency of using the model into two terms: 3.1) to compare students’ ability in reading comprehension and critical reading skills before and after studying with the model and the effect size, and 3.2) to compare the business ethic awareness before and after studying with the model and the effect size; and 4) to investigate student’s opinions toward the model.


               The sample consisted of 32 students selected randomly from one of four sections of the second year Business Management and English students enrolled in English Reading in Business course, Faculty of Management Science, Silpakorn University in academic year 1/2017. The instruments used for this study included 1) 10 Learning Units based on Business Ethics, 2) a pre-post test for reading comprehension and critical reading skills, 3) a pre-post test for business ethic awareness and 4) a set of questionnaires for investigating students’ opinions toward the model. The gathered data was analyzed by percentage, mean, standard deviation and using paired-sample t-test.


               The results of the study revealed that 1) Needs analysis: Undergraduate students need to enhance their reading comprehension, critical reading skills and business awareness by using the cooperative learning model consisting of 5 steps: preparation, teaching, group learning, outcome presentation and measurement and evaluation.; 2) Model Development: The efficiency of the process and the post-test (E1 / E2) were 79.72/74.90 as the expected criterion; 3) Model Evaluation: 3.1) scores of comprehension reading and critical reading skills after the study were significantly higher than before the study at the .001 level based on actual test results and its effect size was 11.03, which was very large (Cohen, 1988) and 3.2) scores of business ethic awareness were significantly higher than before the study at the .001 level based on actual test results and its effect size was 8.60, which was very large (Cohen, 1988); and 4) The students’ opinions toward the learning model were mainly positive at the high level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts