บทบาทของ“วัด ” ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ดำเนินชีวิตแบบอิสระและสามารถ ที่จะให้คุณค่ากับครอบครัวและสังคม (Role of “Temple” in Promoting the elderly independent and valuable life to family and society)

Main Article Content

อุบลวรรณา ภวกานันท์ (Ubolwanna Pavakanun)
เผื่อน กิตฺติโสภโณ (Phuen Kitisoponoh)
วิวัฒน์ หามนตรี (Wiwat Hamontri)
เดชา กัปโก (Decha KappKo)

Abstract

                 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและปัจจัยที่วัด (ไร่ขิง) ใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดาเนินชีวิตแบบอิสระและสามารถที่จะให้คุณค่ากับครอบครัวและสังคม รวมทั้งศึกษาการรับรู้และความต้องการของผู้สูงอายุชุมชนไร่ขิง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี 55 รูป/คน คือ สงฆ์ระดับบริหาร 2 รูป สงฆ์ระดับปฏิบัติการณ์ 8 รูป และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการณ์ด้านผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องของวัดไร่ขิง 11 คน รวมทั้งผู้สูงอายุชุมชนวัดไร่ขิง 35 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลจาก 3 แหล่งคือ แหล่งเอกสาร แหล่งกลุ่มผู้ให้ (สงฆ์ เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง) และแหล่งกลุ่มผู้รับ(ผู้สูงอายุชุมชนไร่ขิง) มีลักษณะสอดคล้องกันคือ บทบาทที่วัดไร่ขิงใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดาเนินชีวิตแบบอิสระและสามารถให้คุณค่ากับครอบครัวและสังคมนั้น ใช้ตามภารกิจพ.ร.บ.สงฆ์ คือ บทบาทงานปกครอง งานศาสนาศึกษา งานการศึกษาสงเคราะห์                งานเผยแผ่ศาสนา งานสาธารณูปการ และงานสาธารณะสงเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมตามบทบาทเหล่านี้เป็นการดำเนินงาน ส่วนปัจจัยที่ใช้ในการดาเนินการเป็นของวัดไร่ขิงได้แก่ งบประมาณและทุนอุดหนุนต่างๆ พาหนะ สถานที่ อุปกรณ์ทั้งหลาย และทรัพยากรมนุษย์ของวัดไร่ขิง โดยมีความร่วมมือบางส่วนของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการช่วยเหลือกิจกรรมพัฒนาสังคมและสาธารณสุข ส่วนความต้องการของผู้สูงอายุชุมชนวัดไร่ขิงเน้นในเรื่อง การมีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเอง ความมั่นคงในรายได้ และการมีสัมพันธภาพกับครอบครัวและบุคคลในชุมชน


 


                  The aims are to study the role of “Temple” in promoting the elderly independent and valuable life to family and society, including the perception and needs of the elderly. 55 key informants are 2 administrative monks, 8 staff monks, 11 employee and related persons in Wat Rai Khing, Including 34 elderly people in Rai Khing community. Research tool is an structured open-ended interview questionnaire.  The research found the consensus data from three sources: the related document source, the service-provider source as monks, officials, and related persons at Wat Rai Khing, and the recipient source as elderly people in Rai Khing community. These three sources provide information in a consistent manner that Wat Rai Khing uses the role of encouraging the elderly to live independently and to provide value to the family and society as following: The role on sangha administration, the role of religious education, the role of educational succor, the role on the Buddhism  propagation, the role on the public assistant management, and  the role on the public aids. All Activities are created to operate according to these mentioned roles. The factors used to process the activities are mostly come from Wat Rai Khing such as funds and grants, vehicles, facilities and equipments. and human resources/staff of Wat Rai Khing. There are also some supports from the partnerships with both public and private networks. The needs of the elderly in the Wat Rai Khing community focus on the income to earn themselves. The stability of the income, and the social relationships with their families and other people in the community.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts