“วัยแสบสาแหรกขาด”: ภาพสะท้อนปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมร่วมสมัย (“Broken”: A Reflection of Children and Adolescence Problems in Contemporary Society)

Main Article Content

กิตติชัย พินโน (Kittichai Pinno)

Abstract

               นวนิยายเป็นงานเขียนที่มุ่งสร้างความบันเทิงเป็นสำคัญ แต่บางเรื่องก็ให้คุณค่าทางความรู้ความคิดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวนิยายที่สะท้อนภาพสังคม วัยแสบสาแหรกขาดเป็นนวนิยายที่นำประเด็นเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมาสร้างสรรค์ได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนำเสนอปัญหาความบกพร่องของครอบครัวในหลากหลายรูปแบบแล้ว  ยังตีแผ่ปัญหาของเด็กและเยาวชนที่มีพื้นฐานมาจากครอบครัวได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ทั้งยังพยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาโดยอาศัยความรู้ด้านจิตวิทยามาอธิบาย  ตลอดจนชี้แนะแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป  บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายเรื่องดังกล่าวทั้งในแง่เนื้อหาและคุณค่าเพื่อแสดงให้เห็นว่าวัยแสบสาแหรกขาดมิได้เป็นเพียงนวนิยายที่สะท้อนภาพสังคมร่วมสมัยเท่านั้น แต่ยังเป็นนวนิยายที่ชี้นำสังคมไปพร้อมกันด้วย


                  Novel is a literary work aiming at entertainment. However, some novels, especially those that reflect social conditions, have knowledge value. Broken is a novel that creatively and interestingly points out children and adolescence issues. It not only presents various problems of family defects, but also overtly and straightforwardly exposes family-based problems of children and adolescence. Psychological knowledge is used in this novel to explain the root cause of the problems to make readers have a correct understanding of them and to give guidelines for sustainable problem solving.  This article aims to study the content and value of the novel, Broken, in order to shows that it is not only a novel that reflects the contemporary society, but it also navigates the society.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ