ผลของการใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี (The Use of Self-directed Learning to Enhance Creative Thinking Skill for Undergraduate Students in Providing Music -) The Use of Self-directed Learning to Enhance Creative Thinking Skill for Undergraduate Students in Providing Music Learning Activities

Main Article Content

ภัทรภร ผลิตากุล (Pattaraporn Plitakul)

Abstract

             งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีช่วงก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ หลังเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำหลายครั้ง กลุ่มประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในรายวิชาวิธีการสอนดนตรี สาขาการแสดงดนตรี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจำนวน 17 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แผนการสอนวิชาวิธีการสอนดนตรีตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ


               ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีภาพรวมช่วงก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ หลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F (2, 4) = 14.737, p = 0.014) และ ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีรายด้านช่วงก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ หลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการสร้าง (F (1, 2) = 326.393, p = 0.003) ด้านการวางแผน (F (2, 4) = 145.683, p = 0.000) และ ด้านการผลิต (F (2, 4) = 190.891, p = 0.000)


 


              The research purpose was to compare the average score on creative thinking skill in providing music learning activities among pre-test, mid-test, and post-test based on self-directed learning (SDL) concept. One-group repeated measure was employed. The population was 17 music performance students registering for music pedagogy, the faculty of music, Silpakorn University. The data were collected through SDL lesson plans and the learning outcome assessment form for creative thinking skill in providing music learning activities. One-way repeated measure anova was used for analyzing data.


               The results showed that the average score on creative thinking skill in providing music learning activities in overall was statistically significant at the 0.05 level (F (2, 4) = 14.737, p = 0.014). Besides, the average score on each item of creative thinking skill in providing music learning activities was statistically significant at the 0.05 level: 1) Generating (F (1, 2) = 326.393, p = 0.003), 2) planning (F (2, 4) = 145.683, p = 0.000), and 3) producing (F (2, 4) = 190.891, p = 0.000).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ