การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (The development of basic educational quality in schools under the Bangkok Metropolitan Administration)

Main Article Content

พรชัย เทพปัญญา (Pornchai Dhebpanya)
ไพบูลย์ ช่างเรียน (Paiboon Changrien)
นิยม รัฐอมฤต (Niyom Rat-ammarit)
วนิดา สัจพันโรจน์ (Vanida Sujjapanroj)
พราวพิชชา เถลิงพล (Praopitcha Thalerngpol)

Abstract

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยการดำเนินงานตามแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควบคู่กับการศึกษาความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เป็นตามเป้าหมายของแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563)  และสนองตอบต่อนโยบายการศึกษาไทย 4.0  รวมทั้งรองรับทั้งสถานการณ์การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภูมิภาค และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  โดยการศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางราชการของสำนักการศึกษา และฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขต ของกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน เขตละ 1 โรงเรียน รวม 50 คน  และสำรวจความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหา และอุปสรรคจากครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 โรงเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนละ 10 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 4,123 ชุด  วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบระหว่างขนาดโรงเรียน (ใหญ่ กลาง เล็ก) กับองค์ประกอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1. รูปแบบการบริหารโรงเรียน  2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน  3. รูปแบบการพัฒนาครู  4. ด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  5. ด้านกายภาพของโรงเรียน  6. สภาพความเป็นจริงทั่วไป


               ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับดี และพบความแตกต่างระหว่างขนาดโรงเรียนกับการบริหารโรงเรียน การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครู  ด้านกายภาพโรงเรียน และสภาพความเป็นจริงทั่วไป แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ยกเว้นด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่พบความแตกต่าง ในขณะที่ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบปัญหาด้านการพัฒนาครู สวัสดิการครู และอุปสรรคด้านการทำผลงานและตรวจรับผลงานวิชาการจึงมีข้อเสนอแนะ และ Value Chain สำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร


 


                The article was subjected to present the result of the research of implementation in the basic education plan, included the opinions, needs, problems and obstacles of the basic education plan, which gives useful information guiding in schools under the Bangkok Metropolitan for management as well as the quality development directions of studies and teachings. Thus, this leads the way in following Fundamental Plan of the Development Policies Model 2 (B.E. 2560-2563), and responds Thai Education Policy 4.0 and backs up the aggregation both in economy and society of the regions and learning skills in the 21st century. The research bases on the principle of Mixed Method which applies both quality and qualitative by gathering all information from Government Educational Office and Bangkok Metropolitan Educational.


            The results of the research indicated the quality of schools under Bangkok Metropolitan were in the rather high level and differentiation found between size of school and the management, furthermore with the physical as well as real condition of schools. The differentiation was significant at level .05.  The Information technology aspect in not found the differentiations in between.  While the information result from interviewed those teachers, it was found the problem in developing teachers, their welfare and the obstacle in working out to meet target and or outcome in academic technical results that cannot be accepted. The presentation would advise the way of value chain to apply in developing quality for schools in Bangkok Metropolitan.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ