การประเมินผลวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่วนภูมิภาค คณะรัฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศึกษาศาสตร์ (An Evaluation of the Knowledge and Morality Course (RAM 6000) by Graduate Students in the Faculties of Political Science,- An Evaluation of the Knowledge and Morality Course (RAM 6000) by Graduate Students in the Faculties of Political Science, Business Administration, and Education Studying at Regional Campuses

Main Article Content

นพคุณ คุณาชีวะ (Noppakun Kunacheva)
อาภาพร พงษ์มาลา (Apaporn Pongmala)
บุศรา นิยมเวช (Buasra Niyomves)

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่วนภูมิภาค คณะรัฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศึกษาศาสตร์ 2) ศึกษาความสอดคล้องของการประเมินผลการเรียนวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) กับมาตรฐานการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย  3) ศึกษาประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตของวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) 4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนวิชา RAM 6000 (ความรู้คู่คุณธรรม) ก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ นักศึกษาที่เรียนวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) ระดับบัณฑิตศึกษาส่วนภูมิภาค คณะรัฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 3,873 คน  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t test  ค่า F test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)


               ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่วนภูมิภาคคณะรัฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศึกษาศาสตร์มีผลการเรียนวิชาความรู้คู่ธรรม (RAM 6000) โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  2. การประเมินผลการเรียนวิชาความรู้คู่ธรรม (RAM 6000) กับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมีความสอดคล้องกัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

  3. ประโยชน์การนำไปใช้ในชีวิต สรุปผลการวิเคราะห์ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 2) การรู้จักและพัฒนาตนเอง 3) การวางแผนในการแก้ปัญหา

  4. ความคิดเห็นก่อนเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) พบว่า ความคิดเห็น โดยรวม 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) อาจารย์ คงสอนไม่สนุก 2) คงจะเป็นวิชาที่บรรยายแต่เนื้อหาและทฤษฎีที่เครียดๆ อย่างเดียว 3) คิดว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อมาก ไม่อยากเรียน

               ความคิดเห็นหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 6000) โดยรวม 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ได้เพื่อนใหม่ และดีใจที่ได้เรียนกับเพื่อนจำนวนมาก 2) สนุกสนาน ทำให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ตลอดเวลา และ 3) ได้รู้จักตนเองมากขึ้น


 


          This research had four objectives: 1) to compare learning outcomes of graduate students in the Faculties of Political Science, Business Administration, and Education taking the Knowledge and Morality course (RAM 6000) at regional campuses, 2) to determine if the learning outcomes comply with the expected learning outcomes specified in the Thai Qualifications Framework for Higher Education, 3) to explore the benefits of everyday-life applications of the RAM 6000 course, and 4) study the students’ opinions before and after taking the course. The research population consisted of 3,873 students from the Faculties of Political Science, Business Administration, and Education taking the Knowledge and Morality course (RAM 6000) at regional campuses. The research instrument was a questionnaire. The statistical procedures employed in the analysis of the data collected included frequency, percentage, mean, standard deviation, the t-test, the F-test and One way ANOVA


               The findings are as follows:


  1. Overall, the students’ learning outcomes were at a “very good” level and differed significantly, among the three faculties, at the statistical level of 0.05.

  2. The overall learning outcomes of the students complied with the expected learning outcomes specified in the Thai Qualifications Framework for Higher Education at a “very good” level.

  3. The first three aspects indicated by the students regarding the application of what they had learned from the course to their daily life were: 1) the capacity to be a good leader and a follower, 2) the ability to know themselves and to develop their abilities, and 3) the capability to plan and solve problems.

  4. The students’ opinions before and after taking the course were as follows: Before taking the course, the students’ first three opinions about the course were: 1) it would not be fun 2) it would involve a lot of lecturing about deep and serious theories; and 3) it would be too boring for them to learn. After taking the course, the students’ first three opinions about the course were: 1) they had acquired new friends and had a lot of classmates; 2) they had a lot of fun which encouraged them to learn at all times; and 3) they learned more about themselves.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ