การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู (A Development of Instructional Activities Model Based on Constructivist Theory and Active -) A Development of Instructional Activities Model Based on Constructivist Theory and Active Learning For Student Teachers to enhance Social Studies Teachers Competencies

Main Article Content

เพ็ญพนอ พ่วงแพ (Phenphanor Phuangphae)

Abstract

                การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู เอกสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์  ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา 2) คู่มือการใช้รูปแบบ  3) แผนการสอน 4) แบบทดสอบ 5) แบบประเมินสมรรถนะครูสังคมศึกษา 6) แบบประเมินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  7) แบบบันทึกการเรียนรู้ 8) แบบสัมภาษณ์ และ9) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)    


               ผลการวิจัย  พบว่า        


  1. รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูสังคมศึกษา  มีชื่อว่า 2P2A  กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P) 2) ขั้นให้ความรู้ และทักษะ (Providing Knowledge and Skills : P) 3) ขั้นปฏิบัติการ (Action : A) และ 4) ขั้นประยุกต์ใช้  (Applying :A)  รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ โดยการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า  2.1 นักศึกษาวิชาชีพครูมีสมรรถนะครูสังคมศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ2.2 นักศึกษาวิชาชีพครูมีความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

          The objectives of this research are as following; 1) to develop the Instructional Activities Model based on Constructivist Theory and Active Learning For Student Teachers to enhance Social Studies Teachers Competencies 2) to study the effectiveness of instructional activities model  based on Constructivist Theory and Active Learning For Student Teachers to enhance Social Studies Teachers Competencies. The samples used in this study were  28 students studying Social Studies in the fourth year of Faculty of Education, Silpakorn University in semester 2 academic year 2017. The research instruments were 1) the instructional activities model based on constructivist theory For Student Teachers to enhance Social Studies Teachers Competencies developed by  the researcher 2) a manual of model 3) lesson plans 4) Achievement test 5) Teacher Assessment form, 6) Learning assessment form 7) Student learning Progress form 8) interview form 9) questionnaire. The research method in this study used both quantitative and qualitative. The research data was gathered using quantitative and qualitative method. The data were analyzed by descriptive statistics, mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.


               The results of this research were as following:


  1. The instructional activities model based on Constructivist Theory and Active Learning for Student Teachers to enhance Social Studies Teachers Competencies called “2P2A”. The instructional process consists of 4 steps which are: Step1 Preparation (P); Step 2 Providing Knowledge and Skills (P); Step 3 Action (A); and Step 4 Applying (A). The instructional activities model proved to be effective as verified by the experts was at the highest level.

  2. The effectiveness of using instructional activities model revealed that

                    2.1 The student Teachers’ Social studies Teachers Competencies after using this instructional activities model  were higher than before the experiment. 


                    2.2 the student Teachers indicated that the instruction were appropriate at a highest  level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ