อุดมการณ์ทางการเมืองในงานกวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ (Political Ideology in the S.E.A. Write Poetry Award)

Main Article Content

บัณฑิต ทิพย์เดช (Bandid Thipdet)

Abstract

               งานวิจัยนี้ ต้องการที่จะศึกษาอุดมการณ์ทางการเมืองในกวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ ในฐานะของงานเขียนประเภทหนึ่งที่ถูกรังสรรค์ผ่านภาษาอันวิจิตร และถือเป็นมรดกทางปัญญาที่ล้ำค่าของคนไทยมาแต่อดีต


               งานกวีนิพนธ์ จัดเป็นปฏิบัติการทางวาทกรรมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ประพันธ์มีอำนาจในการประกอบสร้าง นำเสนอ ตอกย้ำ หรือผลิตซ้ำอุดมการณ์ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับนำเสนอ ทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งอำนาจและความชอบธรรมในการขยายเครือข่ายของอำนาจ


               จากการศึกษาอุดมการณ์ทางการเมืองในกวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ เพียงความเคลื่อนไหว ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (2523) นาฏกรรมบนลานกว้าง ของ คมทวน คันธนู (2526) และใบไม้ที่หายไป ของ จีระนันท์ พิตรปรีชา (2532) ซึ่งมีบริบทของการต่อสู้ทางการเมืองจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นภูมิหลัง อีกทั้งกวีผู้สร้างผลงาน ยังเป็นผู้แวดล้อมร่วมสมัยกับเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้โดยอาศัยกรอบวาทกรรมวิเคราะห์เชิงทฤษฎีวิพากษ์ (CDA) เข้ามาวิเคราะห์ประเด็นอุดมการณ์ผ่านการใช้คำ พบว่า มีการประกอบสร้าง นำเสนอ ตอกย้ำ และผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย


 


                This aims to study political ideology in the S.E.A. Write Poetry Award. The poets are created through the gorgeously language and an invaluable intellectual heritage of Thailand from the past.


               Poetry is a form of discourse practices. The author has the power to create, block, emphasize or reproduce ideology using language as a tool for presentations the ideology.
In order to maintain the authority and legitimacy of expanding the network of power.


               The study selected 3 S.E.A.Write Poetry Award which are Mere Movement by Nawarat Pongpaiboon (1980) Dramas on a Broad Esplanade by Komtuan Khantanu (1983) and The Missing Leaf by Chiranan Pitpreecha (1989) in which based on the political context of the events of October 14, 1973 which the poets are using the context and contemporary with such events are created to emphasize and reproduce Public Democracy Ideology.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ