ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวของ SMEs ในภาคตะวันออก ของประเทศไทย (Factors Influencing Employer Decision in Hiring of Migrant Workers of SMEs in the Eastern Region of Thailand)

Main Article Content

จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์ (Jutamard Thaweepaiboonwong)
ยุวดี ศิริยทรัพย์ (Yuvadee Siriyasub)
พชร สุขสุเมฆ (Pachara Suksumek)
ปฐมวัฒน์ สุระประจิต (Prathomwat Suraprajit)

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมจากผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ภาคตะวันออก และเก็บตัวอย่างได้จำนวน 405 ชุด โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ สามารถสกัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็น 5 องค์ประกอบ ดังนี้ ความคุ้มค่าเชิงประจักษ์, ความเข้ากันได้, การทดแทนกันได้ดี, ความต่อเนื่องของงาน และการหาได้ง่าย โดยมีค่าความแปรปรวนสะสมร้อยละ 78.607 ของความแปรปรวนทั้งหมด และจากการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่าตัวแปรทั้ง 5 สามารถร่วมกันอธิบายการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ SME ได้ร้อยละ 41.8  โดยทั้ง 5 ตัวแปรส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าว โดยเรียงลำดับปัจจัยตามขนาดอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) การหาได้ง่าย 2) ความเข้ากันได้ดี 3) การทดแทนกันได้ดี 4) ความต่อเนื่องในงาน และ 5) ความคุ้มค่าเชิงประจักษ์ ตามลำดับ


 


               This study aimed to investigate the factors influencing the decision of hiring migrant workers for SME entrepreneurs in the eastern region of Thailand in order to provide information for decision making in the SME entrepreneurs and related organization. The questionnaire was used to collect data from 405 participants who are the Thai entrepreneurs using the proportional stratified random sampling. Then, the statistics including frequency distribution, percentage, factor analysis, and multiple regression analysis were analyzed at the statistical significance level of .05.


               An exploratory factor analysis was carried out by using the methodology for the exploratory factor analysis with principal component analysis as well as the orthogonal rotation with Varimax rotation method. The extracted five factors influencing the decision making of the SME entrepreneurs in hiring the migrant workers in the eastern region of Thailand, including the empirical value, compatibility, substitution, continuation of work and availability by having the percentage of the cumulative variance as 76.607 of all variances. Moreover, the findings from multiple regression analysis revealed that the five factors explaining the decision making in hiring the migrant workers of SME entrepreneurs by 41.8%. This lead to the positive decision in employing the migrant workers by using multiple regression analysis in term of influence, the most influential factors in decision making for hiring the migrant workers are 1) availability, 2) compatibility, 3) substitution, 4) continuation of work and 5) the empirical value, respectively.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สามลดา.
กัญญา โพธิ์พันธุ์, พัชนา สุวรรณแสง, กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์ และดุสิต โพธิ์พันธุ์. (2556). การศึกษาการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก. วารสาร
การจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 2, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 39-49.
กุศล สุนทรธาดา และอุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. (2540). กระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ลับลอบเข้าเมืองและความคิดเห็นของภาครัฐและภาคเอกขนที่เกี่ยวข้อง. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: กรุงเทพ.
กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน. (2555). การศึกษาผลกระทบของแรงงานต่างด้าวต่อการจ้างงานคนไทยและชุมชน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน.
นัฐวรรณ สุธรรมา และวสุธิดา นุริตมนต์. (2559). ความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ 1,
1 (มกราคม-มิถุนายน) : 65-73.
พิมพ์ใจ ญาณวรพงศ์. (2553). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจ้างงานแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่”. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ, (2560). แรงงานต่างด้าวหายไป...ใครสะดุด?. บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ. (พฤศจิกายน) : 1-3. เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561 เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Atricle_21Nov2017.pdf
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2557, สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/study/services/sec/60340(2)/move.html
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2548). การศึกษาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันกับแรงงานต่างด้าว:กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
วีระ เภียบ และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). สถานการณ์และความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาในเขตจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University 10, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 189-204.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2555). วิเคราะห์ผลกระทบนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2557, สืบค้นจาก https://www.sme.go.th
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์. (2556). แถลงการณ์เนื่องในวันแรงงานต่างด้าวสากล
18 ธันวาคม 2556 เสนอ 6 ข้อเรียกร้องต่อรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561, สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2013/12/50497
สมสกุล เบาเนิด และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). การจัดการแรงงานต่างด้าวของสถานประกอบการแปรรูปอาหารทะเลในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University 10, 1 (มกราคม-เมษายน) : 1376-1393.
อทิตยา สุวรรณโณ. (2558). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดสงขลา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อลงกต ฐานวัฒนศิริ. (2556). “การวิเคราะห์ปัญหาการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้รับเหมาก่อสร้างไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา.
คณะวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถสิทธิ์ อัตโถปกร. (2550). “การเปรียบเทียบแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย”. สารนิพนธ์วิศกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ภาษาต่างประเทศ
Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Singapore: Harper International Edition.