ผลของการพัฒนาคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้วยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (The Effects of Development of Learner Developing Activities through Activities-Based Learning-) The Effects of Development of Learner Developing Activities through Activities-Based Learning with Flipped Classroom to Enhance The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens in Secondary Students.

Main Article Content

เสกสรร สุขเสนา (Seksan Sooksena)
อุบลวรรณ ส่งเสริม (Ubonwan Songserm)

Abstract

              การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังทดลองใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ดำเนินวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ทดลองใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) ประเมินผลกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา


 


               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มาจากการคัดเลือกแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบบทดสอบคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้านความรู้ แบบประเมินคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้านทักษะ แบบประเมินคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้านเจตคติ และแบบสอบถามปลายเปิดบนกระทู้สนทนาในกลุ่มสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( x)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. คุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้านความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 โดยมีผลคะแนนสูงสุดคือ วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างเกี่ยวกับระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน (ร้อยละ 89.06)

  2. คุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้านทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x = 3.78 S.D. = 0.57 ) โดยมีผลการประเมินสูงสุดคือ ทักษะการทำงานเป็นทีม ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x = 3.76, S.D. = 0.68 )

  3. คุณลักษณะพลเมืองอาเซียนด้านเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( x= 4.43 S.D. = 0.66 ) โดยมีผลการประเมินสูงสุดคือ ความเป็นประชาธิปไตย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x = 4.55, S.D. = 0.60 )

  4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านที่ 1 สาระความรู้ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นจากเนื้อหาที่เรียน ด้านที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าเกิดการเรียนรู้ได้ดีมากจากกิจกรรมที่ปฏิบัติ และด้านที่ 3 การเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ นักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีความกล้าแสดงออก มีทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

           The purpose of this study was evaluating The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens of Secondary Students in the first semester. After experiment Learner Developing Activities through Activities-Based Learning with Flipped Classroom to Enhance the Desirable Characteristics of ASEAN Citizens in Secondary Students. The conduct research was on the steps of (Research and Development: R & D). There was divided into 2 steps. 1) to experiment Learner Developing Activities through Activities-Based Learning with Flipped Classroom to Enhance the Desirable Characteristics of ASEAN Citizens in Secondary Students. 2) to evaluate Activities-Based Learning with Flipped Classroom to Enhance The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens in Secondary Students.


             The sample of this research consisted of 20 Secondary Students in the first semester during the academic year 2017 in The Demonstration School of Silpakorn University by Voluntary Selection The instruments employed to collect data were: lesson plans,               The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens Knowledge Test, Skills Assessment of The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens, Attitude Assessment of The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens and Open-ended questions on discussion topics in Facebook social media The collected data was analyzed for Mean ( x), Standard Deviation (S.D.) and Content Analysis.


             The finding were as follows:


  1. The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens Knowledge Test in Secondary Students were higher than the criteria was 80%. The highest score was Analysis of similarities and differences about Political system, Economic system, Society and Culture of ASEAN Citizens (89.06%)

  2. The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens Assessment Skills in Secondary Students were highest level (x = 3.78 S.D. = 0.57 ) The highest evaluation result was Teamwork skills, there were highest level ( x= 3.76 S.D. = 0.68 )

  3. The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens Assessment Attitude in Secondary Students were high level (x = 4.43 S.D. = 0.66 ) The highest evaluation result was Democratic, there were high level ( x= 4.55 S.D. = 0.60 )

  4. The opinions of Secondary Students are satisfied towards Learner Developing Activities through Activities-Based Learning with Flipped Classroom to Enhance The Desirable Characteristics of ASEAN Citizens in Secondary Students about 1) Knowledge. Students have the opinion that they have gained more knowledge from the content of the course. 2) Learning Activities Students have the opinion that they have learned a lot from their activities. and 3) Developing Skills Students have the courage to express themselves. They have Higher Order Thinking Skills. And they have the ability to use more technology.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ