การศึกษารูปแบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (The study of Digital Technology Model for Education – Basic Education)

Main Article Content

อนันต์ วรธิติพงศ์ (Anant Voratitipong)
ปณิตา วรรณพิรุณ (Panita Wannapiroon)
ปรัชญนันท์ นิลสุข (Prachyanun Nilsook)

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) วิเคราะห์ สภาพการใช้งานในปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษารูปแบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่1 จำนวน731คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์มี การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่2 จำนวน 25 คนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยีและด้านการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการจัดสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)


               ผลการวิจัยพบว่า ด้านการใช้งานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการศึกษามีปัญหาสูงสุด( =3.27, S.D.=1.14) รองลงมาคือปัญหาการใช้คลังความรู้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา ปัญหาการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา และปัญหากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี โดยมีคะแนนเฉลี่ย( =3.25, S.D.=0.93) ,( =3.23, S.D.=0.99) ,( =3.23 , S.D.=1.02) ตามลำดับ


            ด้านความต้องการใช้งานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมพบว่ามีระดับความต้องการมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการใช้คลังความรู้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษามีความต้องการสูงสุด ( =4.09, S.D.=0.85) รองลงมาคือด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการศึกษา ด้านการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา และด้านกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีโดยมีคะแนนเฉลี่ย(x =4.07, S.D.=0.95) ,  (x =4.05, S.D.=0.87) , ( x =4.04 , S.D.=0.86) ตามลำดับ   


               ด้านรูปแบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยตรงกันเรื่อง รูปแบบดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีองค์ประกอบของรูปแบบเป็น 4 ด้าน (1)ด้านคลังความรู้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา (2)ด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อการศึกษา (3)ด้านสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา  (4)ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี      


 


               This study aimed to: 1) investigate current situation, problems and needs of digital for education - Basic education. 2) study of digital technology model for educational- Basic education. The sample group was 731 students, teacher, director and parent.   Statistics used in the analysis are frequency, percentage, mean, and standard deviation. The 25 experts in digital technology and education was the sample group for Focus Group Discussion.


               The research found that; it was moderate problem to use digital technology for educational- Basic education. The highest problem was found is the used of digital infrastructure to be (x =3.27, S.D.=1.14), followed by the use of digital media repository for education.  The problem of using digital media for education and problems of teaching activities using digital technology. The average score ( x = 3.25, S.D.= 0.93) , ( x = 3.23, S.D.=0.99) ,(x  = 3.23, S.D.= 1.02) , respectively. The demand for digital technology for education- Basic education as a whole has shown a high level of demand. The highest demand was found is digital media repository system for education was rated at ( x =4.09, S.D.=0.85), followed by digital infrastructure, digital media and teaching activities using digital technology. The mean scores of ( x = 4.07, S.D.= 0.95), ( x = 4.05, S.D.= 0.87) , ( x = 4.04, S.D.=0.86), respectively..


                The 25 experts in digital technology and education agreed Digital Technology Model for Education - Basic Education should have four components: (1) Digital Media Repository System for education. (2) Digital Educational Infrastructure (3) Digital media for education. (4) Instructional activities using digital technology.


          

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ