แนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ (Operational Guidelines in Accordance with the Key Performance Indicator of the Civil State Schools Under the Office of Chiang Mai Primary Educational -)

Main Article Content

กฤตภัทร อรุณดี (Krittaphat Aroondee)
ยงยุทธ ยะบุญธง (Yongyouth Yaboonthong)
ชูชีพ พุทธประเสริฐ (Choocheep Puthaprasert)

Abstract

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อจัดทำและตรวจสอบแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ประชากร คือ โรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียน ของโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ประกอบคำบรรยาย และวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาโดยการใช้ความถี่ (f) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 2) การศึกษาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา ของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) 3) การจัดทำและตรวจสอบแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ 3.1) การร่างแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ครูที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารสถานศึกษา ให้เป็นคณะทำงานรับผิดชอบโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวนทั้งหมด 3 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ และวิเคราะห์จากผลสรุปของการประชุม 3.2) การตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของร่างแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัย พบว่าปัญหาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงอันดับจากค่าเฉลี่ย พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม รองลงมาคือ ด้านการเป็นศูนย์กลางการเข้าถึง ICT และ Digital และอันดับที่ 3 คือ ด้านความโปร่งใสตรวจสอบได้ แนวทางแก้ปัญหาคือจัดให้มีการตั้งกลุ่มสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ กับคณะทำงานโรงเรียนประชารัฐในบริเวณใกล้เคียง ประสานงานด้านการดำเนินงานและหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน  ต้นสังกัด หรือ ภาคเอกชน ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ และเสริมทักษะด้านการใช้สื่อ ICT แก่ผู้บริหารและคณะครูของโรงเรียนประชารัฐ และควรจัดทำโฮมเพจ (Home Page) หรือใช้สื่อ ออนไลน์ต่าง ๆ เช่นเฟสบุ๊ค (Facebook) หรือ ไลน์ (Line) ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการศึกษาการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า โรงเรียนมีความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐาน ในการเป็นศูนย์กลางการเข้าถึง ICT และ Digital ภาคีเครือข่ายตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม มีการทำข้อตกลงที่ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน อาศัยกระบวนการทำงานโดยใช้วงจรคุณภาพ P-D-C-A และใช้เทคโนโลยีในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ประสานงาน กำกับ ติดตาม วัดผลประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นปัจจุบัน สำหรับแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินงาน 4) ตัวชี้วัดความสำเร็จ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ส่วนผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และ ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก


 


               The aims of this research were 1) to study the operational problems and solutions based on the Key Performance Indicators (KPIs) of the Civil State Schools under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Areas 2) to study on the Civil State School where performs the best practice based on KPIs and 3) to design and examine the Operational Guidelines in accordance with the KPIs of the Civil State Schools under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Areas. The process of this study has divided in 3 steps including 1) To study on the operational problems and solutions based on the KPIs of the Civil State School under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Areas. The target group was 93 school directors or acting of school directors of the Primary School in Chiangmai. The questionnaire on the operational problems and solutions based on the Key Performance Indicators (KPIs) of the Civil State Schools under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Areas was used as a tool in order to analyze the collected data through the applications of the frequency, percentage, average (µ) and standard deviation (σ) including the explication of its literary work in order to clarify meaning and to analyze the solution by the application of frequency (f) in ascending order. 2) To study on the Civil State School where performs the best practice based on KPIs. The informants consisted of 4 school directors and/or the acting of school directors from the best practice schools. The instrument used was the questionnaires with item asking about essential topics. And the data received was analyzed by using the method called Content Analysis; after that the result was viewed by the inductive inference in order to find the conclusion before presenting its information by the method called the Descriptive Analysis. 3) To draft and to examine on the operational guidelines in accordance with the KPIs of the Civil State Schools under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Areas. This step was divided in 2 stages which were 3.1) The workshop was held in order to collect the data for initiatively drafting the Operational Guidelines in accordance with KPIs of the Civil State which the informants were 3 teachers who were assigned to work as the Civil State School Committee. And 3.2) The draft of Operational Guidelines in accordance with the KPIs of the Civil State School was examined by the experts and the tool used in this stage were the examination of accuracy, suitability and possibility which the data was analyzed by using the average and standard deviation.


               The finding of this study were as follow: the operational problems based on the KPIs of the Civil State School under the Office of Chiangmai Primary Educational School were generally found in high level. In the addition, it was found that, when it was studied in separate subjects of this problem, the average result of each was still in high level starting from a connectivity and partnership, a capability center in accessing to ICT and Digital, and a transparency, respectively. As the result, the school should provide the solution by using social media to create the connectivity with other committees among the Civil State School, also the collaboration on the operational management should be contributed in order to find the appropriated solutions together. In the same vein, the affiliated organizations or the private sectors should provide the workshop to acknowledge the school directors or teachers on how to use the ICT effectively. In addition, there should be the homepage or other social media; for example, Facebook or Line, to promote the overall outcomes continually. The Study on the Civil State School where performs the best practice based on KPIs had found that the school is well prepared to become an effective ICT and Digital center. In addition, the school network was also aware of the importance of school collaboration. The agreements were made for sharing the benefits. The four-steps management called P-D-C-A was used as the tool for school management, as well as, the ICT was considered as the tool for publicizing, coordinating, following up, evaluating and reporting in order to keep the information up to date. The outcome on drafting the operational guidelines in accordance with the KPIs of the Civil State Schools under the Office of Chiangmai Primary Educational Service Areas has provided the frameworks which are 1) the principal 2) the objectives 3) the operational methods 4) the KPIS for success and 5) the conditions of success. In the same vein, the auditing result of the guideline quality showed that the accuracy and suitability was in the highest level and the possibility was in the high level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ