การพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Development of a Web-Based Instructional System Based on STEM Education to Enhance Creative Problem Solving Ability)

Main Article Content

กฤตยาณี กองอิ้ม (Kittayanee Kong-im)
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ (Suttipong Hoksuwan)

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษา (2) ออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ (3) ศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 อาจารย์ผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ระยะที่ 2 เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาตรวจสอบคุณภาพร่างระบบการเรียนการสอนบนเว็บ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ ระยะที่ 2 ระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษา ระยะที่ 3 ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนจากที่เรียนจากระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษา และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ PNI modified ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานอาศัยสถิติ t-test  (Dependent  Samples)


               ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็ม กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผลรายวิชาคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67 ผู้สอนมีความต้องการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 (2) องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มที่พัฒนา มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวสะเต็มศึกษา และเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ 2) กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์และกำหนดจุดมุ่งหมายของการออกแบบระบบและกิจกรรมการเรียนการสอน ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวสะเต็มศึกษา และการวัดและประเมินผลการจัดระบบการเรียนการสอน และ 3) ผลลัพธ์ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในภาพรวมการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ (3) ผลการใช้ระบบการเรียนการสอนบนเว็บตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


               The proposes of this research were (1) to study the  current conditions  and  needs for a web-based instructional system  designed  using  STEM  Education  principles,  (2) to  design  and  develop  a web-based  instructional  system  designed  using  STEM  Education  principles, and (3) to study the effects of using a web-based instructional  system  designed  using STEM Education. The research methodology was divided in 3 phases. Phase 1:  study the current conditions and need of a web - based instructional system designed using STEM Education principles. Phase 2: consisted of designing and developing a web-based instructional system designed using STEM Education principles. Phase 3: consisted of the use of the web-based instructional system designed using STEM Education principles. The purpose of this study was the comparisons of learning achievement and creative problem solving ability of students through the STEM Education. The sample used in Phase 1: Computer instructor at Primary School Students at a University Demonstration School under the Office of  Higher  Education  Commission. Phase 2: A specialist who participates in group discussions to review the quality of drafting web-based instructional system. Phase 3: Prathomsueksa 6 students attending Mahasarakham University Demonstration School (Elementary), 35 students each, in academic year 2016. The instrument used in the study were Phase 1: A questionnaire on the current situation and the needs of the instructors. Phase 2:  A web-based instructional system designed using STEM Education. Phase 3: A web-based instructional system, an achievement test and a test of creative problem-solving ability. Statistics used in the research included PNI modified, mean, standard deviation and t-test for hypothesis testing (Dependent Samples).   


               The results of this research have found that (1) An analysis of the present  conditions  of  the  web-based  instructional designed  using  STEM  Education  principles,  the  teaching processes, and the evaluation of  the computer  course yielded  low  scores,  with  the average score of  2.67 (on  a  5.0  scale). It  was also found  that the instructors had a moderate  level of  needs  for a  web-based  instructional system, with the average  score  of  3.49 (2) As  for  the  elements  of  the  web-based  instructional system designed using the STEM Education principles,  there were three  main elements. The first element was the input, which was a web-based instructional system designed using STEM Education principles and contents from the computer course. The second element was the process, which consisted of analyzing and identifying the objectives of the system design and instructional activities. The process also included the use of the activities on the web-based instructional system designed using STEM Education principles, and the evaluation of the designed instructional system. The third element was related to the results.  The results were divided into two parts: students’ overall knowledge and understanding gained from a computer course and their ability to solve problem creatively. The experts  appointed to evaluate  these elements agreed that all  elements  were  highly  appropriate  for  the  study (3)  It  was  found  that  students’ post-test  scores  on learning achievement, creative  problem-solving  ability  after  using  the  web-based  instructional  system  developed  using  STEM  Education  principles  were  statistically  higher  than  their  pretest  scores  (p=.05).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ