รูปแบบความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน (The sustainable competitive advantage model for Thailand agricultural machinery)

Main Article Content

พรปวีณ์ วรเศรษฐ์พงศา (Pornpawee Worasatepongsa)
สุชาติ ปรักทยานนท์ (Suchart Prakthayanon)

Abstract

              การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันแก่ธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยอย่างยั่งยืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการในเขตภาคกลาง จำนวน 274 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(simple random sampling) ใช้วิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน(simple random sampling without replacement) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยนำไปวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้เทคนิคเพื่อวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) วิเคราะห์อิทธิพลระหว่างตัวแปร (Path Analysis) ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95


               ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถทางการแข่งขันแก่ธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ประการหลัก คือ ความได้เปรียบด้านผู้ขายวัตถุดิบ  ความได้เปรียบต่อผู้ผลิตรายใหญ่ และการรักษาระดับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน โดยผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า CMIN=236.907, DF=236, P=0.471, CMIN/DF=1.004, GFI=0.941, AGFI=0.913, CFI=1.000, NFI=0.925, IFI = 1.000, RMR = 0.040, RMSEA=0.004 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกค่า อีกทั้งผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของรูปแบบรูปแบบความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการรักษาระดับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของธุรกิจเครื่องจักรกลทางการเกษตรในประเทศไทย คือปัจจัยทรัพยากรที่มีคุณภาพ ความได้เปรียบต่อผู้ขายวัตถุดิบ และ ความได้เปรียบต่อผู้ผลิตรายใหญ่ 


 


               The purposes of this research were 1) to create a model of structural relationship of factors affecting of the competitive advantage model for Thailand agricultural machinery and 2) to investigate goodness of fit of the created model and empirical data of cause and effect relationship factor affecting the competitive advantage model for Thailand agricultural machinery. The samples comprised 274 agricultural machinery entrepreneurs in the central region of Thailand. Were selected as the simple random sampling without replacement. The data was collected using questionnaire that analysis was performed using the confirmatory factor analysis and path analysis at 95% confidential interval.


               The findings were as follows: The competitive advantages for Thailand agricultural machinery are consist of 3 factors 1) competitive advantages of suppliers 2) advantages to large business and 3) keeping sustainable performance. A model of structural relationship was corresponded to empirical data CMIN=236.907, DF=236, P=0.471, CMIN/DF=1.004, GFI=0.941, AGFI=0.913, CFI=1.000, NFI=0.925, IFI = 1.000, RMR = 0.040, RMSEA=0.004. Factors that affect the sustainable competitive advantages for Thailand agricultural machinery include 1) quality of resources 2) competitive advantages of suppliers and 3) advantages to large business.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ