วิถีชีวิตของคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (Homeless way of life in Khon Kaen City Municipality, Khon Kaen Province)

Main Article Content

คณิน เชื้อดวงผุย (Kanin Chueduangpuy)
อนุวัฒน์ พลทิพย์ (Anuwat Pontip)
วิบูลย์ วัฒนนามกุล (Viboon Wattananamkul)
สุภนัย ประเสริฐสุข (Supanai Prasertsuk)

Abstract

              บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและวิถีชีวิตของคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก มีหน่วยในการวิเคราะห์ คือ ระดับปัจเจกบุคคล ใช้วิธีการลงพื้นที่สำรวจสถานที่ที่คนไร้บ้านอาศัยอยู่ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะในจังหวัดขอนแก่น และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลกับคนไร้บ้าน จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกสุ่มกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า คนไร้บ้านที่พบส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภูมิภาคอีสานมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ มีอายุตั้งแต่ 30 ปีจนถึง 61 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในระดับสูงสุด ส่วนใหญ่เคยสมรสและมีบุตรมาแล้วแต่ได้เลิกรากันก่อนที่จะออกมาเป็นคนไร้บ้าน


               วิถีชีวิตของคนไร้บ้านจะอาศัยในพื้นที่สาธารณะในตัวเมืองจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 1 สวนสาธารณะรัชดานุสรณ์ ศาลหลักเมืองขอนแก่น ศาลเจ้าพ่อตลาดรถไฟ ศาลาภายในสวนสาธารณะต่าง ๆ และเพิงพักในพื้นที่สาธารณะ และจะใช้ห้องน้ำในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ คนไร้บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเก็บของเก่าหรือเก็บขยะขายมากที่สุด รองลงมา คือ รับจ้างและงานบริการทั่วไป ซึ่งมีรายได้ต่อวันไม่แน่นอน คนไร้บ้านมีรูปแบบการบริโภคอาหารหลากหลาย ทั้งการขอข้าววัดรับประทาน การทำงานล้างจานหรือจัดโต๊ะแลกข้าวแกง การรอโรงทาน การรับบริจาคข้าว/น้ำดื่มจากผู้ใจบุญที่สัญจรผ่านไปมา การซื้อรับประทานเองหรือการอดข้าวและน้ำในบางมื้อหรือหลายมื้อ สุขภาพของ คนไร้บ้าน พบว่า หลายคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ คือ การมีโรคประจำตัวและโรคเจ็บป่วยทั่วไปทั้งก่อนและหลังจากออกมาเป็นคนไร้บ้าน และรักษาตนเองด้วยการซื้อยาแผนปัจจุบันรับประทานเองหรือกลับไปรับยาตามโรงพยาบาลในภูมิลำเนาเดิม ซึ่งเข้าถึงสิทธิ์การรักษาเพียงส่วนน้อยเท่านั้น บางส่วนเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย คนไร้บ้านมีวิธีการผ่อนคลายชีวิตประจำวันด้วยการดูหนังกลางแปลง ฟังเพลงหรือธรรมะจากวิทยุ การเล่นสนุ๊กเกอร์ การนอนพักผ่อน ซึ่งพบภาวะเครียดหรืออยู่กับความทุกข์ค่อนข้างน้อย ด้านความต้องการและแผนการใช้ชีวิตของคนไร้บ้านในอนาคต พบว่ามี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่อยู่กับปัจจุบันและมองไม่เห็นอนาคต 2) กลุ่มที่ต้องการมีชีวิตอยู่ในสถานที่แบบเดิม 3) กลุ่มต้องการมีอาชีพ มีรายได้และที่พักเป็นหลักแหล่ง และ 4) กลุ่มมีอาชีพมีรายได้และไม่ต้องการความช่วยเหลือ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ กระบวนการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านควรมีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละกลุ่มตามความสอดคล้องของวิถีชีวิต เพื่อให้คนไร้บ้านสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในปัจจุบันหรือหลุดพ้นจากความเป็นคนไร้บ้านในอนาคต ซึ่งอาจแตกต่างกันเฉพาะรายกรณี   


 


              This research article aimed to study general information and homeless way of life in Khon Kaen City Municipality, Khon Kaen province by qualitative method in individual unit. The researcher surveyed homeless places in public areas in Khon Kaen and interviewed 20 homeless people deeply by specific random. The results of the research were revealed as follows: The majority of homeless people are male. They live in Northeast more than other regions. Age of homeless people is between 30-61 years old. The majority of them graduated primary schools. The highest education is high vocational certificate. The majority of homeless people used to get married and had their children but broke up before being homeless people.


           The way of life of homeless people have been lived in public places in Khon Kaen city such as The first bus terminal, Ratchadanusorn public park, Khon Kaen city pillar, Train market pillar, other public pavilions and shelters in public places. They used public restrooms. The majority of homeless people are garbage men. Minority of them are general contractors. Their earnings per day are instability. They have many methods to find something to eat such as taking food from temples, washing dishes or serving food to get some food, waiting for alms canteens, bagging from passers-by, purchasing by themselves or being famished some meals or several meals. Their health found that they had some general health problems both before and after being homeless people. They buy medicines or get them from their hometown’s hospitals whose rights are minority. Some drunk alcohol for relieving their illnesses. They relaxed by watching out door movies, listened to music or Dhamma from the radio, playing snooker or sleeping. They have a little stresses. Their needs and future plans found 4 groups: 1) being in the present time not in the future 2) staying in the same places 3) need to have occupations, earnings and houses 4) having their own occupations and not need to request any helps. The suggestion is assistant and development quality process should specific in each group following their ways of life in order to develop their qualities of life in the present time or release themselves from being homeless in the future which are different in individual development.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ