การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สำหรับนักศึกษาครู (The Development of an Instructional Model Innovation based on Theory of Cooperative Learning to Enhance -) The Development of an Instructional Model Innovation based on Theory of Cooperative Learning to Enhance Cognitive Skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for Student Teachers

Main Article Content

อุบลวรรณ ส่งเสริม (Ubonwan Songserm)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาครู 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนในรายวิชาวิธีสอนทั่วไป กลุ่มที่ 1 จำนวน 35 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะทางปัญญา 3) แบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม 4) แบบสอบถามความคิดเห็น การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการศึกษาพบว่า 


               1) รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นเตรียม ขั้นสอน ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม ขั้นตรวจสอบผลงาน ขั้นสรุปผล และ 4) ปัจจัยสนับสนุน


               2) ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาครู มีดังนี้


                    2.1) ทักษะทางปัญญาก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาครู แตกต่างกัน โดยหลัง ( x = 32.22, S.D. = 2.32) สูงกว่าก่อน ( x = 23.82, S.D. = 4.21) การใช้นวัตกรรม


2.2) ความสามารถในการทำงานกลุ่มหลังการใช้นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาครู อยู่ในระดับ มาก ( x = 4.04, S.D. = 0.58)


                    2.3) ความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาครู อยู่ในระดับ มาก ( x = 4.16, S.D. = 0.53)


 


            The objectives of this research were: 1) to develop instructional model innovation based on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers 2) to study efficiency for using instructional model innovation based on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers. The sample in this research was 2nd undergraduate students who enrolled Methods of Teaching Course in group 1 about 35 undergraduate students selected by purposive sampling. The research instruments were 1) lesson plan 2) cognitive skills test 3) evaluate form for team working ability 4) questionnaire for study opinion. The research data was gathered by quantitative and qualitative. Data analysis using Mean and Standard Deviation.        


               The results of the study were as the follows:


               1) Instructional model innovation based on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers consisted of 4 components: 1) principles, 2) objectives, 3) learning process consisted of 5 steps: preparing, presenting, practicing, checking, concluding and  4) support factor.


               2) The effectiveness for using instructional model innovation on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers as follows;


                    2.1) Cognitive skills before and after using instructional model innovation based on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers different and after higher than before using instructional model innovation.


                    2.2) Team working ability after using instructional model innovation based on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers were high level.


                    2.3) Opinion about using instructional model innovation based on theory of cooperative learning to enhance cognitive skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for student teachers were high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ