นโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร (Thai Economic Policy towards Lao PDR under ACMECS on the Government of Prime Minister Thaksin Shinawatra.)

Main Article Content

ศิริสุดา แสนอิว (Sirisuda Sanew)

Abstract

              บทความนี้มุ่งศึกษากรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีนัยยะต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544-2549) นั่นคือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy; ACMECS) ผลการศึกษา พบว่า ภายใต้กรอบความร่วมมือแอ็กเม็กซ์ รัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการนโยบายและโครงการด้านเศรษฐกิจของไทยต่อลาว ผ่านโครงการความร่วมมือในสาขาการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน การพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การดำเนินนโยบายดังกล่าว อาทิ นโยบายการเกษตรพันธสัญญา (contract farming) นโยบายเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจ (sister city) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เมืองชายแดนของไทยที่มีพรมแดนติดกับลาวได้รับผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ กล่าวคือ เป็นจุดเชื่อมโยงทางด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ระหว่างไทยกับลาว โดยเฉพาะเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจ มุกดาหาร – สะหวันนะเขต


 


                This paper aims to study the framework of cooperation between Thailand and neighboring countries in the Greater Mekong Subregion, Ayeyawady – Chao Phraya –Mekong Economic Cooperation Strategy (ACMECS), and its implications on Thai economic policy towards Lao PDR. The study found that under the framework of cooperation, ACMECS, Thailand has taken the economic cooperation projects in priority cooperation areas, namely, trade and investment facilitation, agricultural cooperation, tourism cooperation, and transport linkages. These policies include projects for example contract farming, sister city, development of infrastructure for linking with neighboring countries. As a result, the impact of this policies has an effect on the provinces in Thai-Lao border, especially, sister city between Mukdahan and Savannakhet. The economic benefit is that sister city has been the linking of the border trade, investment, and tourism.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

“สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย).” ฐานเศรษฐกิจ (15-18 ธันวาคม 2556).
“หมักชม ‘แม้ว’ ปูทางรถไฟไทย-ลาว”. ข่าวสด (31 มีนาคม 2551): 10.
เว็บไซต์จังหวัดมุกดาหาร. (2561). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดมุกดาหารและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2561. เข้าถึงได้จาก
https://www.mukdahan.go.th/data/pg.pdf
เอก อนันต์. (2553). ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย การทูตไทยในเวทีสากล. กรุงเทพฯ: สยาม เอ็ม แอนด์ บี พับลิชชิ่ง.
กระทรวงการต่างประเทศ, กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2555). ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle Cooperation). เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://www.mfa.go.th/business/th/cooperation/245/16229-สามเหลี่ยมมรกต-(-Emerald-Triangle-).html
กระทรวงการต่างประเทศ, ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2561). เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน โอกาสของนักลงทุนไทยใน สปป.ลาว. เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://globthailand.com/laos_0005/
กระทรวงการต่างประเทศ. (2547). “บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 13.” วันที่ 22-24 ธันวาคม.
กระทรวงการต่างประเทศ. (2548). การทูตยุคใหม่หัวใจคือประชาชน กุมภาพันธ์ 2544 – มกราคม 2548. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์.
กระทรวงการต่างประเทศ. (2549). “บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 14.” วันที่ 23-25 มกราคม.
กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). ความคืบหน้าโครงการ ACMECS. เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม. เข้าถึงได้จาก https://www.acmecsthai.org/web/23.php
คอลัมน์รายงาน. (2545). “จับตาสามเหลี่ยมมรกต อาจเป็นแค่ (ฝันค้าง) ของสมศักดิ์.” ฐานเศรษฐกิจ (21 กุมภาพันธ์ 2545): 28.
ด่านศุลกากรมุกดาหาร. (2561). โครงการพัฒนาพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS). เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม. เข้าถึงได้จาก https://www.danmuk.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538773026
ปรารถนา คงนาค. (2561). “เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน (Savan-Seno Special Economic Zone)” : โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เข้าถึงข้อมูล 23 สิงหาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiworld.org/thn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1423
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์. (2559). การทูตทักษิณ: บทวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของไทยยุคทักษิณ ชินวัตร. กรุงเทพฯ: อ่าน.
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน. (2557). รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ไทยกับภูมิภาคนิยมเอเชีย: ศึกษากรณี ACD และ ACMECS. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรวุฒิ จำลองนาคและทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. (2556). “ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและชุมชนของการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ต่อประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับพิเศษ (กันยายน): 145-153.
ศูนย์ข่าวขอนแก่น. (2551). “ท่องเที่ยว-ค้าชายแดนมุกดาหารเฟื่อง การลงทุนไม่กระเตื้องรอรัฐบาลใหม่.”ผู้จัดการรายวัน (9 มกราคม 2551): 10.
ศูนย์ข่าวภาคอีสาน. (2545). “ลาวเห็นพ้อง ‘สามเหลี่ยมมรกต’ สิงคโปร์ผุดสนามกอล์ฟดักหน้า.” ผู้จัดการรายวัน (11 มกราคม 2545): 13.
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์. (2559). สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะของ สปป.ลาว. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.thaibizlao.com/lao/knowledges/detail.php?id=20414
สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต. (2561). แขวงสะหวันนะเขต. เข้าถึงข้อมูล 15 กรกฎาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.thaisavannakhet.com/savannakhet/th/data-service/sub-savannakhet/sawannaket/economic.php
สยามจดหมายเหตุ 26, 12 (22 – 27 มีนาคม 2544): 315.
สยามจดหมายเหตุ 26, 52 (22-31 ธันวาคม 2544): 1450-1451.
สยามจดหมายเหตุ 30 (ตุลาคม 2548): 1410.
สยามจดหมายเหตุ 30 (พฤศจิกายน 2548): 1584-1585.
สยามจดหมายเหตุ 31 (กุมภาพันธ์ 2549): 219.
สยามจดหมายเหตุ 31 (สิงหาคม 2549): 1097.
สยามจดหมายเหตุ 34 (มีนาคม 2552): 259.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). “ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เรื่อง การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน.” เสนอที่ การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ นอกสถานที่ ณ จังหวัดเชียงราย วันที่ 11 มกราคม.
สุชาติ ศรีตะมา. (2545). “บูมสามเหลี่ยมมรกตไม่ง่าย ‘ลาว-เขมร’ รีรอ.” กรุงเทพธุรกิจ (18 กุมภาพันธ์ 2545): 1-2.
อุบลราชธานี/ศรีสะเกษ. (2544). “3เหลี่ยมมรกตคึกสุดขีด.” สยามรัฐ (23 ธันวาคม 2544): 1, 7.