การเปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีพฤติกรรมการเล่นเกมต่างกัน (Comparison of Self-Esteem of Upper Secondary School Students with Different Game Playing Behavior)

Main Article Content

สุภัทร ชูประดิษฐ์ (Supat Chupradit)
นงลักษณ์ เขียนงาม (Nongluck Kienngam)
ชฎาพร มหาวัน (Chadaporn Mhahawan)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีพฤติกรรมการเล่นเกมต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 254 คน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบทดสอบการติดเกมฉบับเด็กและวัยรุ่น และแบบทดสอบความภาคภูมิใจในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลวิจัยพบว่า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีพฤติกรรมการเล่นเกมในระดับปกติและระดับน่าจะติดเกมมีความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งกลุ่มที่มีพฤติกรรมการเล่นเกมปกติ มีความภาคภูมิใจในตนเองสูงกว่า กลุ่มที่มีพฤติกรรมน่าจะติดเกม


 


                  The purpose of this research were to study comparison of self-esteem to upper secondary school students with different game playing behavior. The sample used in the research is upper secondary school students in Chiang Mai University Demonstration School of 254 students. The data were collected by questionnaire; Demographic data, Game Addiction Screening Test: Child and Adolescent version and Rubin’s Self Esteem Scale. The statistics used in data analysis include frequency, percentage, mean, standard deviation and One Way ANOVA. Results of the study indicated there were statistically significant differences between groups of the subject at .05 level. Self-esteem of the normal group higher than the game addicted group.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ