การพัฒนามาตรวัดการอ่านสำหรับผู้ใหญ่ ฉบับภาษาไทย: ความแตกต่างระหว่างเพศและสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมกับการอ่านของวัยผู้ใหญ่ ในประเทศไทย (The Development of the Adult Reading Checklist-Thai version:investigating gender and socioeconomic status differences)

Main Article Content

วัฒนารี อัมมวรรธน์ (Watthanaree Ammawat)
สุชาดา กรเพชรปาณี (Suchada Kornpetpanee)

Abstract

             การอ่านมีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางปัญญา โดยเฉพาะความจำ สมาธิ และทักษะทางภาษาซึ่งมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสำเร็จในการทำงานต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดการอ่านสำหรับผู้ใหญ่ ฉบับภาษาไทย รวมทั้งศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้กับพฤติกรรมการอ่านของวัยผู้ใหญ่ในบริบทไทย ผลการวิจัย พบว่า มาตรวัดการอ่านสำหรับผู้ใหญ่ ฉบับภาษาไทย ที่ได้พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญมีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นในระดับดี มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 นอกจากนี้ จากการศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ ระดับการศึกษา และรายได้มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านในวัยผู้ใหญ่ พบว่า เพศชายมีแนวโน้มเกิดปัญหาด้านการอ่านมากกว่าเพศหญิง และกลุ่มที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมดีย่อมมีปัญหาด้านการอ่านน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้น การตระหนักถึงการวัดความสามารถด้านการอ่านในวัยผู้ใหญ่ จะช่วยให้มีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพการอ่านสำหรับผู้ใหญ่ในบริบทไทยที่ดียิ่งขึ้น 


 


                Reading is related to cognitive processes, especially memory, attention, and language skills, which influence academic achievement and career success.  The purposes of this study were to develop and to evaluate the Adult Reading Checklist (Thai version), and to explore gender, education level, and income differences in Thai adults' reading habits. The results revealed that the developed Adult Reading Checklist which was examined by the experts showed good reliability (Cronbach’s α = 0.80). Besides, the differences between gender, education level, and income influenced the adults' reading ability. Men, concerning gender, tended to have more reading problems than women while the adults with higher socioeconomic status had less reading problems than those with the lower one. Therefore, the awareness of measuring reading ability might be worthwhile for initiating the policy for improving Thai adults’ reading ability.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ