ทุนทางสังคมกับการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: ชุมชนบ้านบ่อน้ำซับ หมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช Social Capital on Sustainable Community Management: A Case Study of Bannbonamsub Community, Moo 1, Khuntalae Sub-di

Main Article Content

สุพัตรา คงขำ (Supattra Kongkhum)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทุนทางสังคมของชุมชนบ้านบ่อน้ำซับ  2) วิธีการนำทุนทางสังคมไปบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน  3) ปัญหาและอุปสรรคในการนำทุนทางสังคมไปบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน  เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน  เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชน  256 คน  โดยการสุ่มตามวิธีของยามาเน่  และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 28 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  การสนทนากลุ่ม  การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพทุนทางสังคมของชุมชนบ้านบ่อน้ำซับในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ซึ่งด้านทุนมนุษย์มีอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีผู้นำชุมชนที่เสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ด้านทุนวัฒนธรรมและ   ภูมิปัญญา มีวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย ด้านทุนสถาบัน  ประกอบด้วย สถาบันครอบครัว การศึกษา ศาสนา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ นันทนาการ  และสถาบันอื่น ๆ   ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีดิน น้ำ สภาพภูมิอากาศ แร่ธาตุ ที่มีความอุดมสมบูรณ์   2) วิธีการนำทุนทางสังคมไปบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน  โดยการสร้างและพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน สร้างการมีส่วนร่วม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การค้นหาทุนในชุมชน การทดลองนำมาปฏิบัติ การขยายผลต่อยอด  การสร้างศูนย์การเรียนรู้  3) ปัญหาและอุปสรรคในการนำทุนทางสังคมไปบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนคือ ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ทำได้ยากขึ้น  ขาดการรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เด็กยุคใหม่ขาดภูมิคุ้มกัน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ เริ่มปิดตัว


 


              This research aimed to study 1) the situations of social capital  2) the use of social capital 3) problems and obstacles in applying social capital in sustainable community management of Bannbonamsub Community. The research was mixed methods research. Data were collected from 256  samples by Taro Yamane formula and 28 key informants of  purposive selection. Data collection tools included questionnaires, interviews, focus group discussion, participant and non-participant observations.  Data were analyzed by frequency,  percentage,  mean,  standard deviation  and content analysis.


               The research found that: 1) The social capital of  Bannbonamsub community was at a high level  and human capital was at the highest level,  the community leader devoted themselves to work for their community. Cultural and wisdom capitals were various local cultures, beliefs and local wisdom.  Institution capital consisted of family institutions, education, religion, politics and government, economy, recreation and other institutions. Natural resources and environment capital were abundant soil, water, climate and minerals.  2) the use of social capital in sustainable community management were developing potential of community leaders, enhancing participation, knowledge management forum,  searching community capital, implementation,  extension of knowledge, skill  and  then establishing a learning center  3) Problems and obstacles in applying social capital in sustainable community management were less cooperation of people, difficult building new leaders, lacking of collecting  knowledge  of  local wisdom, lacking of self- immunity in new generation  and  the community organizations  began  to  shut down.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ