แนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Approach to enhancing quality of life and sustainability of Educational personnel in the three southern border provinces)

Main Article Content

ชลธิชา มะลิพรม (Chonthicha Maliporm)

Abstract

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของบุคลากรในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และเพื่อเปรียบเทียบแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างคือ ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง      คิดเป็นร้อยละ 60.50 โดยมีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 61.10 ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 63.30 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.50 ส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 5 – 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.50 ส่วนใหญ่มีอัตราเงินเดือน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 34.20 โดยส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างประจำและพนักงานจ้าง คิดเป็นร้อยละ 78.00 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 93.0 และแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3.91 รองลงมา ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 3.79 ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.78 ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.73 ด้านประชาธิปไตยในการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 3.71 ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ย 3.51 และด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ย 3.38 ในทางกลับกันด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 3.13 ตามลำดับ


 


                 This study to approach to enhancing and comparison quality of life and sustainability of educational personnel in the three southern border provinces. The sample consisted of teachers, educational personnel who work in the three southernmost provinces of 400 people by a simple random sampling. The statistical analysis of the data is the frequency, percentage, mean, standard deviation, t- test, F - test and content analysis. The study found that Most are female 60.50%, aged 26-35 years 61.10%, bachelor's degree or equivalent education 63.30%, married 56.50%, time working 5-10 years 40.50%, the average monthly salary of 10,000 - 15,000 baht per month, representing 34.20%, mostly employed and hired employees 78.00%, residents in the three southernmost provinces of 6 years and over 93.0%.approach to enhancing quality of life and sustainability found that the relationship between among supervisors and team members was good level with the highest average of 3.91. secondly, safe and healthy working environment with the average of 3.79, social relevance with the average of 3.78, development of human capacities with the average of 3.73, constitutionalismwith the average of 3.71,total life space with the average of 3.38 andadequate and fair compensation was moderate level with the least average of 3.13 respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ