ความแยบยลในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ : ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ ในเอสโตเนีย สวีเดน และฟินแลนด์ (Cleverness in museum space : Museum trip in Estonia, Sweden and Finland.)

Main Article Content

ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ (Chainarong Ariyaprasert)

Abstract

              ในปัจจุบัน การออกแบบพิพิธภัณฑ์ถูกนำมาใช้เป็น คำตอบ ของการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมืองและชุมชน การออกแบบใหม่หรือการปรับปรุงการใช้สอยพื้นที่ภายในอาคารสาธารณะ อาคารเดิม ที่อยู่ในบริบทของเมืองที่ต้องการการอนุรักษ์และการพัฒนาให้ไปต่อได้จำนวนมาก โดยที่สาธารณชนได้รับประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งจากผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากภายนอก และอีกในหลายกรณี ก็นำมาสู่การกระตุ้นหรือพลิกฟื้นสภาพเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้เกิดโอกาสและการกระจายทางเศรษฐศาสตร์ให้กับชุมชนให้ได้รับผลประโยชน์ทั้งจากทางตรงและทางอ้อม ในแง่ของการเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาสิ่งสำคัญในแต่ละเรื่องราว รวมไปถึงการสร้างความหมายและความสำคัญให้กับเมืองและชุมชน ในฐานะที่เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของผู้คน ซึ่งจะมีความแยบยลอันน่าสนใจที่แตกต่างหลากหลายไปในแต่ละแห่ง


               ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนบทความศึกษาพิพิธภัณฑ์ด้วยการสำรวจโดยใช้ทักษะและประสบการณ์ตนเองในการทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์ในประเทศเอสโตเนีย สวีเดน และฟินแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาและบ่งชี้ถึงลักษณะความแยบยลในพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่ง โดยใช้องค์ความรู้ในการสำรวจและวิเคราะห์ประเด็นด้านกายภาพ จากบทความการจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพิพิธภัณฑ์ของณัฏฐินี กาญจนาภรณ์ และคณะ กับรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการจัดทำคู่มือมาตรฐานการนำเสนอเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ในอาคารสาธารณะด้วยการออกแบบที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน ของชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ และคณะ โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในพื้นที่ด้วยตนเอง ทำการสำรวจและสังเกตความแยบยลโดยบันทึกด้วยภาพถ่ายและเขียนภาพแบบฉับพลัน จากนั้นนำมาวิเคราะห์กับองค์ความรู้ที่ทบทวนในลักษณะการสร้างตารางสหสัมพันธ์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแยบยลของพิพิธภัณฑ์ตามที่ได้สรุปจากวรรณกรรมที่ศึกษา เพื่อขยายขอบเขตของการรับรู้ที่จำเป็นต่อความแยบยลในพื้นที่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบและวางแผนจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพิพิธภัณฑ์ อันจะเป็นข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาเพื่อการออกแบบและปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ในอนาคต


               จากการศึกษาได้พบข้อสรุปในประเด็นด้านความแยบยลในมนุษย์ เพื่อออกแบบให้รองรับกับความแตกต่างที่หลากหลายของปัจเจกบุคคล เป็นประเด็นที่สำคัญมากในการออกแบบในปัจจุบันที่ควรตระหนักอย่างยิ่ง เพราะแม้ในการออกแบบพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ ซึ่งมีการวางแผนมาอย่างดีโดยนักวิชาชีพ ให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานรองรับกิจกรรมของเมืองและสังคมที่มีความเป็นไปได้อันหลากหลายนั้น มีความแตกต่างที่สวนทางกับการออกแบบที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะในการเข้าถึงเพื่อการเรียนรู้ของบุคคลที่มีความหลากหลายในพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์เรียนรู้เป็นอย่างมาก และน่าที่จะได้ศึกษาและเรียนรู้กันต่อไป


 


              At present, the design of the museum is used as the answer to the creation of the urban and community environment. New design or renovation of existing public buildings within the context of a city that requires a lot of conservation and development. The public benefit in many ways. From those who come to take advantage of the outside. And again in many cases. It leads to the stimulation or recovery of the economy of the area. Provide opportunities and distribute economics to the community to benefit both directly and indirectly. In terms of being a museum-type learning resource, keeping things important in each story. It also creates meaning and importance for the city and the community. As a meeting place for people. There will be a variety of interesting and different in each place.


               In this study. The author studies the museum by exploring its own skills and experience in museum excursions in Estonia, Sweden and Finland, with the aim of identifying and characterizing the ingenuity of individual museums. Use knowledge to explore and analyze physical issues. From the articles on Area and facilities management by Nathinee Karnchanaporn and others, with a complete research report Guidelines to museum standards, learning space in public buildings with universal design by Chainarong Ariyaprasert and others. By participating in the area themselves. Surveys and observations by recording and imaging. Then, it was analyzed with the knowledge that was reviewed in the form of correlation table. To point out the ingenuity of the various museums as summarized from the literature studied. To expand the scope of awareness needed to be ingenious in the area. Provide people involved in the design and planning of facilities and facilities in the museum. This will be a useful observation in the study for future design and renovation of the museum.


               The study found conclusions on human ingenuity. Designed to accommodate a wide variety of individuals. It is a very important issue in today's design that should be realized. Because even in the design of space and facilities in the area. It is well planned by professionals. The flexibility to use, support the activities of the city and society with a variety of possibilities. There is a difference in design with the specific purpose of accessing to a diverse learning community in a museum or learning center.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ