การพัฒนาโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อความอ่อนตัวของนักศึกษาชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร (Development of Stretching Training Programs on Flexibility of Male Students in Sports Science Program, Silpakorn-) Development of Stretching Training Programs on Flexibility of Male Students in Sports Science Program, Silpakorn University

Main Article Content

นิวัฒน์ บุญสม (Niwat Boonsom)

Abstract

               ความอ่อนตัวเป็นเป็นองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพที่มีความสำคัญและส่งผลต่อความสามารถทางกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจัดเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อความอ่อนตัวของนักศึกษาชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อความอ่อนตัว และเปรียบเทียบผลของการฝึกตามโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบหยุดค้างนิ่งและแบบผสมผสานที่มีต่อความอ่อนตัว ในช่วงเวลาการทดลองที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร   ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน คือ กลุ่มที่ 1 ฝึกตามโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบหยุดค้างนิ่ง (Static Stretching) และกลุ่มที่ 2 ฝึกตามโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบผสมผสาน (Combined Stretching) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที จากนั้นทำการทดสอบวัดความอ่อนตัว หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 โดยใช้แบบทดสอบความอ่อนตัว นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Analysis of Variance with Repeated Measures) หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) และทดสอบค่า “ที” (t-test Independent) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่             ระดับ .05


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบหยุดค้างนิ่งมีผลต่อความอ่อนตัว ในช่วงเวลาการทดลองที่ต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบผสมผสานทมีต่อผลความอ่อนตัว ในช่วงเวลาการทดลองที่ต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบหยุดค้างนิ่งกับแบบผสมผสานมีผลต่อความอ่อนตัว ในช่วงเวลาหลังการทดลองที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาการเปรียบเทียบความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและหลังส่วนล่างของทั้งสองโปรแกรม ในช่วงเวลาการทดลองที่ต่างกัน พบว่า โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบผสมผสาน ส่งผลต่อความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ในช่วงก่อนการทดลอง กับทุกช่วงเวลาหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบหยุดค้างนิ่ง ส่งผลต่อความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ในช่วงก่อนการทดลอง กับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบหยุดค้างนิ่งและแบบผสมผสาน สามารถทำให้ความอ่อนตัวเพิ่มขึ้นได้ภายใน 8 สัปดาห์ และโปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบผสมผสาน สามารถพัฒนาความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและหลังส่วนล่างเพิ่มขึ้นได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรกของการทดลอง แต่เมื่อทำการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผลการพัฒนาความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและหลังส่วนล่างของทั้งสองโปรแกรมให้ผลไม่แตกต่างกัน


 


Flexibility is the important element of health-related physical fitness and affects to motor ability of physical during exercise or sports. At present, the flexibility development by stretching is an effective method. The development of stretching training programs on flexibility of male students in sports science program, Silpakorn University. This research were purposed to development of stretching training programs on flexibility and compared effect of static stretching and combined stretching on flexibility in during different experimental periods. The subjects were 40 male in first year students of sports science program, faculty of education, Silpakorn University. They were purposively sampled and divided equally in two groups and each group consisted of 20 students. The first group was trained with static stretching program and the second group was trained with combined stretching program. The period of experiment was 3 days per week and total duration 8 weeks. The data of flexibility were collected by using sit and reach test for both groups were taken before experiment, after the 2nd, 4th, 6th and 8th week. The obtained data were analyzed in terms of mean, standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by the Bonferroni and t-test Independent were also employed for statistical significant (p < .05)


 


 


 


               The results of the research were as follow:-


  1. The static stretching training program had affect on flexibility during different experimental periods significantly at the .05 level.

  2. The combined stretching training program had affect on flexibility during different experimental periods significantly at the .05 level.

  3. The effect between static stretching training program and combined stretching training program on flexibility during different experimental periods had no significant. According to compared the hamstrings and lower back flexibility of both programs in during different experimental periods, found that the combined stretching program was able to increase hamstrings and lower back flexibility between before experiment and all after week of period were significantly at the .05 level. However, the static stretching program was able to increase hamstrings and lower back flexibility between before experiment and after the 6th and 8th week were significantly at the .05 level.

               In conclusion, Static stretching and combined stretching programs were able to increase flexibility within 8 weeks and combined stretching program was able to increase hamstrings and lower back flexibility within 2 weeks. But the after 8 weeks of experiment, effect of hamstrings and lower back flexibility in both programs had no significant.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ