ดอนปู่ตา: ป่าวัฒนธรรมชุมชนภาคอีสาน เชื่อมคน สร้างป่า (Don Pu Ta: Northeast Cultural Forest Related to the Local and the Forest)

Main Article Content

เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์ (Benjapak Charoenmahavit)

Abstract

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดของชุมชนในพื้นที่หมู่บ้านโพธิ์ชัย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2561 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้รู้ในชุมชนจำนวน 7 คน สาเหตุที่เลือกพื้นที่หมู่บ้านโพธิ์ชัยเพราะว่าป่าชุมชนดอนปู่ตาของหมู่บ้านโพธิ์ชัยเป็นป่าที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากที่ไม่ถูกบุกรุกด้วยการตัดไม้ทำลายป่าเหมือนป่าชุมชนเขตอื่น โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงการนำภูมิปัญญาที่มาจากการนับถือผีปู่ตาหรือผีบรรพบุรุษมาบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อให้คนและป่าได้พึ่งพาอาศัย เกื้อกูลกัน และอยู่ร่วมกันโดยการที่ไม่ทำให้ป่าถูกทำลายด้วยวาทกรรมการพัฒนาสมัยใหม่ ผลการศึกษาพบว่าทางออกของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้คือการที่ชุมชนได้มีแนวคิดด้วยการประดิษฐ์สร้างพิธีกรรมความเชื่อผีปู่ตาบนที่ชุมชนให้ความเคารพและศรัทธาเพื่อเป็นการปกป้องและอนุรักษ์ป่าในฐานะที่เป็นป่าวัฒนธรรมชุมชน โดยการนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมมาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนเพื่อไม่ให้ป่าถูกทำลายไปตามกระแสของระบบทุนนิยมโลกที่กำลังเชี่ยวกรากอยู่ในปัจจุบัน ตามแนวคิดที่ว่าให้คนอยู่ร่วมกับป่าในลักษณะการพึ่งพาอาศัยกันคือการที่คนได้พึ่งพาป่าในการดำเนินวิถีชีวิตส่วนป่าได้รับการปกป้องโดยคนที่อยู่ในชุมชน ส่งผลให้ป่าวัฒนธรรมชุมชนยังคงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป


 


                This paper aims to discover the thoughts of the local in community, Pochai village, Yang sisurat district, Mahasarakham Province. which they follow the belief about ‘Phi Pu Ta’ or their ancestor ghost in application for the local and the forest’s natural resource management with focus on ‘Modern Development Discourse’ approach. The result was shown that the resolution of the local for natural resource management is to create the ceremony about their ancestor ghost which is significant respectful and faithful in order to protect the local forest as the cultural forest community. The original tradition adaptation is adjusted in association with the local lifestyles without the impact of the ongoing global capital at the present. Based on the thought of the relationships between the local and the forest, it makes the forest preserved forever. child’ rather than just their academic achievement. Schools must create a curriculum that will help learners connect with the world and understand

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ