ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร (Factors related to smoking behavior and smoking cessation behavior of teenagers in Thonburi district Bangkok.)

Main Article Content

พระมงคลธรรมวิธาน (Phramongkoldhammavithan)
ประสิทธิ์ สระทอง (Prasit Srsthorng)
จักรี บางประเสริฐ (Chackree Bangprasert)

Abstract

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ การควบคุมของบิดามารดา การเป็นตัวแบบด้านการสูบบุหรี่ของบิดามารดาและเพื่อน การเผชิญความเครียด  ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่ออำนาจภายในตน ความคิดเห็นเกี่ยวกับพิษภัยและโทษของบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ 2) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาการควบคุมของบิดามารดา การเป็นตัวแบบด้านการสูบบุหรี่ของบิดามารดาและเพื่อน การเผชิญความเครียด ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่ออำนาจภายในตน ความคิดเห็นเกี่ยวกับพิษภัยและโทษของบุหรี่  และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่   ที่สามารถทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบขนาดตัวอย่างของ W.G. Cochran โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) วัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.98, S.D.=0.40) ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับพิษภัยและโทษของบุหรี่ มีค่าเฉลี่ยระดับอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.21, S.D.=0.92) ส่วนการควบคุมของบิดามารดา ความเชื่ออำนาจภายในตน การเผชิญความเครียด ความภาคภูมิใจในตนเอง ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยระดับอยู่ในระดับมาก ( =3.90, S.D.=0.53, =3.78, S.D.=0.57, =3.43, S.D.=0.58, =3.16, S.D.=0.73, =2.99, S.D.=0.63, และ =2.53, S.D.=0.66) ตามลำดับ ส่วนการเป็นตัวแบบด้านการสูบบุหรี่ของบิดามารดาและเพื่อน มีค่าเฉลี่ยระดับอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( =1.51, S.D.=0.76)
2) ผลการเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า วัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนวัยรุ่นที่มีเขตที่พักอาศัย อายุ การพักอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง และบุคคลในครอบครัวที่สูบบุหรี่ ต่างกัน มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ไม่แตกต่างกัน และ 3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในเขตการปกครองฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การควบคุมของบิดามารดา การเป็นตัวแบบด้านการสูบบุหรี่ของบิดามารดาและเพื่อน การเผชิญความเครียด ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเชื่ออำนาจภายในตน ความคิดเห็นเกี่ยวกับพิษภัยและโทษของบุหรี่ และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 84.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


 


                 The objectives of this research were to 1) Studies on smoking behavior and smoking cessation behavior, Parental control, Parents and friends smoking cigarettes, Stress Coping behavior, self-esteem, self confidence, comments on the harmful and harmful effects of cigarettes, and attitude toward smoking. 2) Comparative study of smoking behavior and smoking cessation behavior. 3) Parental control, Stress Coping behavior, self-esteem, self-confidence, comments on the harmful and harmful effects of cigarettes, and attitude toward smoking is predictors of smoking behavior and smoking cessation behavior among adolescents in Thonburi district, Bangkok. A sample of 400 W.G. Cochran samples were used to determine the level of reliability. The research instruments were questionnaire with 5 rating scale. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, one-way ANOVA, The multiple regression analysis based on the priorities of the variables taken into the equation (Stepwise Multiple Regression Analysis).


            The findings were as follows: 1) The teenagers in Thonburi district, Bangkok. The smoking behavior and smoking cessation behaviors were at a moderate level ( =2.98, S.D.=0.40).
The mean scores comments on the harmful and harmful effects of cigarettes were at the highest level ( =4.21, S.D.=0.92). parental control, self-confidence, parents and friends smoking, self-esteem, attitude towards smoking, and smoking behavior and smoking cessation behavior among teenagers in Thonburi district, Bangkok. The average level was high ( =3.90, S.D.=0.53,
=3.78, S.D.=0.57, =3.43, S.D.=0.58, =3.16, S.D.=0.73, =2.99, S.D.=0.63, และ =2.53, S.D.=0.66) respectively. And the factor is parents and friends smoking. This is mean score was lowest ( =1.51, S.D.=0.76). 2) The results of comparison of smoking behavior and smoking cessation behavior among teenagers in Thonburi district, Bangkok. Classified by personal factors. Were to teenagers in Thonburi district, Bangkok, The different of gender, the smoking behavior and smoking cessation behaviors were significantly different at the .05 level. But the different of teenagers with residential areas, age, living with parents, education of parents, parental occupation, and family smoking, These factors were not significantly different of smoking behavior and smoking cessation behaviors. 3) The factors that could predict smoking behavior and smoking cessation behavior among teenagers in Thonburi district, Bangkok. There are the parental control, parents and friends smoking, stress coping behavior, self-esteem, self-confidence, comments on the harmful and harmful effects of cigarettes, and attitude toward smoking. The predictors were 84.0% at the .001 level.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ