การใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5: กรณีศึกษา โรงเรียนองครักษ์ (The Use of 5Es Instructional Model for Inquiry-based Teaching Method to Enhance Thinking Skill Development of -) The Use of 5Es Instructional Model for Inquiry-based Teaching Method to Enhance Thinking Skill Development of Mathayomsuksa 5 Students: A Case Study of Ongkharak School

Main Article Content

มัทนา ดวงกลาง (Mattana Doungklang)
ดลฤทัย บุญประสิทธิ์ (Donrutai Boonprasitt)

Abstract

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es ในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากผลการเรียนรู้การปฏิบัติและผลการทดสอบทางการเรียนในแต่ละทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนองครักษ์  จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน โดยเลือกจากนักเรียนที่มีคะแนนการสอบปลายภาควิชาคณิตศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558  ต่ำกว่า 40% เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es  จำนวนทั้งสิ้น 9 แผน (2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างละ 30 ข้อ (3) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (4) แบบประเมินผลสะท้อนกลับการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es


               ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน ซึ่งมีคุณภาพระดับดีมาก ( x =4.65, S.D.=0.71) 2) ผลการศึกษาพัฒนาการทักษะการคิดของนักเรียนพบว่าวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es สามารถส่งเสริมพัฒนาการทักษะการคิดของนักเรียนสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีร้อยละของคะแนนพัฒนาการ อยู่ในระดับสูงที่สุดทั้ง 3 ทักษะ ดังนี้  ทักษะการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ 86.40 ทักษะการคิดสังเคราะห์ เท่ากับ 85.73 ทักษะการคิดวิพากษ์ เท่ากับ 86.34 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ทั้ง 3 ทักษะมีค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมในระดับดีเยี่ยม ( x =4.59, S.D=0.50) และการประเมินผลสะท้อนกลับการใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามขั้นตอน 5Es พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมคือ ชอบกิจกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม เนื่องจากได้ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และสถานการณ์ที่ครูนำเสนอน่าสนใจ ทำให้สามารถถามคำถามได้มากขึ้น


 


              This research aimed to (1) study the use of 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method to enhance Mathayomsuksa 5 students’ thinking skill development and (2) study  Mathayomsuksa 5 students’ analytical, synthesis and critical thinking skills development using practical learning achievement as well as each learning skill test results. Nine lesson plans applying 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method were conducted with a sample group of twenty-one Mathayomsuksa 5 students in Ongkharak School, Nakhon Nayok Province during semester 2 of the 2016 academic year. The sample groups were the students whose test results in Mathematics were lower than 40% in both semesters 1 and 2. The research instruments consisted of (1) nine lesson plans applying 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method, (2) thirty items of thinking skill pretest and posttest, (3) a student in-class behavior observation form, and (4) a feedback on assessment form for the use of 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method.


               The results of this study were 1) Using of 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method with 9 lesson plans was achieved in high level ( =4.65, S.D.=0.10) 2) Using of 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method can improve students’ thinking skills; analytical thinking skills with 86.40%, synthesis thinking skills with 85.73% and critical thinking skills with 86.34% . To compare the results of pre-test and post-test showed that the post-test results of 3 thinking skills were higher than pre-test with relativity value at .05. Students behavior observation shown that they were achieved in high level ( =4.59, S.D=0.50).The reflection evaluate of 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method shown that this study was the most achieved. Finally, the feedback on assessment for the use of 5Es instructional model for Inquiry-based teaching method by the students indicated that the majority of the students preferred group work since they were able to help each other, share opinions and the issues that presented by the teacher during the class activities were interesting.This subsequently encouraged them to ask more questions in class.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ