การศึกษาเงื่อนไขการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานศูนย์การค้า (Study of the Conditions for Employee Retention in Shopping Center)

Main Article Content

นภัสนันท์ แจ่มฟุ้ง (Napassanun Jamfung)
อัจศรา ประเสริฐสิน (Ujsara Prasertsin)
นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ (Nanchatsan Sakunpong)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเงื่อนไขการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานศูนย์การค้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก 9 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม โดยมีคุณสมบัติ คือ มีอายุการทำงาน 10 ปีขึ้นไป มีความก้าวหน้าในหน้าที่และทำงาน ความรู้สึกพอใจในงานที่ทำอยู่ ความผูกพันต่อองค์กรในการอยู่อย่างต่อเนื่อง และการถ่ายโอนความรู้ให้แก่ผู้อื่น ได้มาจากการได้รับข้อมูลจากฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล และเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.8-1.0 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานศูนย์การค้าโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน การเกิดการเรียนรู้จากการทำงานหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความสามารถในการทำงาน ความมั่นคงในงาน   ความก้าวหน้าในงาน ลักษณะของงาน ความสำคัญต่อองค์กร นโยบายองค์กร ความสำเร็จของงาน  และเงินเดือนและผลตอบแทนต่างๆ โดยเงื่อนไขเหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจคงอยู่ในองค์กรต่อไปของพนักงานศูนย์การค้า


 


              The purpose of this qualitative research was to study the conditions of employee retention for shopping center businesses. There were nine key informants who were selected by purposive sampling according to the specific qualifications. It was the employee who has experienced work more than 10 years, could have a bright future in career part and capability to do their job in full skill. The data were collected using in-depth interviews and then analyzed using content analysis. The instrument for data collection was the Interview form and semi-structured interviews which yielded the reliabilities of 0.80-1.00. The results showed that the conditions which influenced shopping center employee retention were as follows: 1) superior’s relationship 2) colleague’s relationship 3) learning organization 4) ability to achieve the goals of job 5) organizational security 6) career advancement 7) job characteristics 8) importance to the organization 9) policy and administration of compliance between policy 10) job achievement of the outcome 11) salary, benefits and welfares. These conditions direct effected on employee retention in shopping center.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
นิตยา วันทยานันท์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว โรงพยาบาลในเขตจังหวัดสกลนคร. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพียงใจ เวชชวงศ์. (2555). การคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชนีพร ไชยมิ่ง. (2557). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธรณสุข. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา ขาวผ่อง. (2556). ปัจจัยทำนายความพึงพอใจในงานและความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ภาคตะวันออก. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพงษ์ สุนทรวัฒนกิจ. (2554). ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์การ ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานในธุรกิจ Wedding Studio ในเขตกรุงเทพฯ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม. (2559). รายงานการสำรวจยอดขายรายไตรมาส. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/sale53Q1-4.pdf
สุรเดช แสนนิล. (2554). การรักษาพนักงานในองค์กร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โสรยา เฉลยจิต. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของทันตแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุขมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2553). การจัดทำเส้นทางการฝึกอบรมระยะยาวบนพื้นฐานของขีดความสามารถ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ภาษาต่างประเทศ
Bradt, G. (2015). How to win the war for talent in 2015. Accessed 28 January 2018. Available from https://www.forbes.com/sites/georgebradt/2015/01/07/how-to-win-the-war-for-talent-in-2015/#573848e819da.
Branham L. (2005). The 7 hidden reasons employees leave. (1st ed). New York: Amacom.
Davis, T. L. (2013). A Qualitative Study of the Effects of Employee Retention on the Organization. (Doctoral dissertations). Walden University, Business Administration.
Gerardo de los Santos Lazano. (2012). An Exploratory Study of Contracted Security Officers’ Retention. Doctor of Education in Organization Change: Pepperdine University.
Jackson, S. E., Schuler, R. S. & Werner, S. (2009). Managing Human Resource. 10th ed. Canada: South-western Cengage Learning.
Management Study Guide. (2016). P/PM Training Organizations. Accessed 12 March 2018. Available from https://pmworldjournal.net/wp-content/uploads/2016/03/161110-Osayande-Management-Study-Guide.pdf
Peter, C. (2002). Harvard Business Essentials: Hiring and Keeping the Best People. Harvard Business School Publishing Corporation Published. Thai translation right by ประคัลภ์
ปัณฑพลังกูร. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1998).
Samuel, M. O. & Chipunza, C. (2009). Employee Retention and Turnover: Using Motivational Variables as a Panacea. Journal of Business Management 3(8), 410-415.
Smikle, J. L. (2015). Why They Stay: A Qualitative Study of Commitment and Retention in Long-Term Care. (Doctoral dissertations). Fielding Graduate University, Human and Organizational System.