การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ (The Development of Evaluation of Role Performance Indicators for the University Council of Rajabhat University)

Main Article Content

พิษณุ บางเขียว (Phisanu Bangkheow)
กฤษดา ผ่องพิทยา (Kisda Pongpittaya)
สรายุทธ์ เศรษฐขจร (Sarayuth Sethakhajorn)
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล (Wirot Watananimitgul)

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2) ศึกษาผลการใช้ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย (1) การตรวจสอบร่างตัวบ่งชี้ การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานในสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ ในด้านของความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความชัดเจน  (2) ตรวจสอบร่างตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏโดยใช้การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติด้วยเทคนิค MACR  (Multi Attribute Consensus Reaching) จำนวน 2 รอบ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ ในทั้งสามประเด็นดังกล่าวข้างต้น  3) พัฒนาคู่มือการประเมินการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้วยการนำข้อมูลที่ได้จากการพัฒนา ตัวบ่งชี้มาดำเนินการร่างคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ และตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ 4) การศึกษาผลการใช้ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ จำแนกเป็น 3  มิติ  จำนวน 30 ตัวบ่งชี้  ได้แก่ มิติด้านการกำหนดนโยบาย จำนวน 9 ตัวบ่งชี้  มิติด้านอำนาจหน้าที่  จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ และมิติด้านการกำกับติดตาม จำนวน 10 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการประเมินตัวบ่งชี้ พบว่า  ตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น จำนวน 30 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความชัดเจนอยู่ในระดับมากในทั้ง 3  มิติ และเมื่อนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ ปรากฏผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด


 


               The objectives of this research were 1) to develop the role performance  evaluation indicators for the University Council of Rajabhat Universities and 2) to study the  results of the role  performance  evaluation  indicators  for  the  University  Council of  Rajabhat  Universities. The research methodology comprised 4 processes; 1)studying the elements of role performance evaluation indicators for the University Council of  Rajabhat  Universities, 2) developing the role  performance  evaluation indicators for the University Council of  Rajabhat  Universities  consisting of  (1) Examination on the draft of role performance evaluation indicators for the University Council of Rajabhat  Universities by the experts working in the University Council on the suitability of indicators of usefulness, possibility, and clarity, (2) Examination on the draft of role  performance evaluation  indicators  for the University Council of Rajabhat Universities  by using the multivariate for consensus reaching with the MACR (Multi Attribute Consensus Reaching) technic twice in order to determine the appropriateness of the indicators in all three issues as mentioned above, 3) Development of compliance assessment manual on the role  performance  evaluation  indicators for  the  University  Council of  Rajabhat  University. The information obtained from the development of indicators is used in drafting the guidelines for evaluation on the role performance of the duties of the Rajabhat Universities Council and examination on the appropriateness of the experts, 4) Studying the  results of  the role performance evaluation indicators for the University Council of  Rajabhat  Universities.


               The results showed that 1)  the role performance evaluation indicators for the University Council of Rajabhat Universities classified into 3 dimensions with 30 indicators; 9 indicators of the dimension of policy formulation, 11 indicators of the dimension of power and duties, and 10 indicators of the dimension of monitoring, 2) the results of evaluation on the indicators reveal that 30 developed indicators have the appropriateness in the usefulness, possibilities, and clarity in the high level for all 3 dimensions. When it is useing for evaluate the role  performance  indicators  for  the University Council of  Rajabhat Universities, it is found that the results of role  performance  of the University  Council of  Rajabhat  Universities was in the highest level. 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ