ลักษณะลาว : เอกลักษณ์ร่วมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทย-ลาว ในภาคตะวันออกตอนบน (Laos Characteristics:Unique Joint Appearances of Thai – Laos Art in the Upper East Region)

Main Article Content

ภูวษา เรืองชีวิน (Puvasa Ruangchewin)

Abstract

                ในบริบทของงานศิลปกรรม อาจกล่าวได้ว่ามักถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการสืบทอดพุทธศาสนา รูปแบบของงานศิลปกรรมลาวที่ปรากฏในภาคตะวันออกตอนบน เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการศึกษาลักษณะลาวที่มีเอกลักษณ์ร่วม เนื่องจากพุทธศาสนามีความสำคัญต่อชุมชนมาช้านาน  ศาสนาสถาน จึงความผูกพันกับวิถีชุมชน “วัด” ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ต่าง ๆ ตามวิถีดั้งเดิม รูปแบบของงานศิลปกรรมในพุทธศาสนา จึงมีลักษณะการดำรงความเป็นลาว ทั้งในโครงสร้างของงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ ความเป็นลาวที่ยังมีลักษณะร่วมทั้งองค์ประกอบหลักในด้านโครงสร้างและองค์ประกอบย่อยในส่วนประกอบทางเชิงช่างของงานศิลปกรรมแบบดั้งเดิม ลักษณะที่ถ่ายทอดจากอดีต และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับงานศิลปกรรมลาวในอีสาน รวมทั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้เห็นถึงคติ แนวคิด   ผ่านลักษณะทางกายภาพ ประโยชน์และการใช้สอย ที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ และถึงแม้ว่ารูปลักษณ์ขององค์ประกอบของงานศิลปกรรมบางส่วนจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมภายนอกที่เข้ามามีบทบาท แต่ชุมชนสามารถยอมรับการผสมผสานรูปแบบของศิลปกรรมที่ปรากฏจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนได้ในที่สุด


 


                 The context of artworks is usually created to serve as a symbol in Buddhism inheritance. A form of art in Laos which appear in the upper East region is one of the important parts to study Laos characteristics. As Buddhism is important to the community for a long time, so religious ties to their communities. “Temple” is used as a place of various traditional worship, therefore, art forms of Buddhism still maintain Laos style both in the structure of architecture, sculptures and murals that reflect the identity. Lao also has characteristics of main elements and sub-elements of traditional art. Characteristics inherited from the past and associate relations with Laos art in the northeast of Thailand including Laos to present the idea and concept through physical activity, advantage and usability in the meaning of symbolic. Although some aspects of the artwork will be modified and adapted according to the context of a society that has a role, the community can accept and combine a form of art to become the identity of the community.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ