การสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์กรธุรกิจที่ปรากฏอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าแบบซอง (Value-Added Creating Products Organization that Appears on Face Cream Sachetin Amphoe Hua Hin, Changwat Prachuap Khiri Khan, Thailand.)

Main Article Content

รัชมงคล ทองหล่อ (Ratchamongkhon Thonglor)
วิศรุต ฉายางามมงคล (Vitsarut Chayangammongkol)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏอยู่บนป้ายฉลากสินค้าประเภทครีมบำรุงผิวแบบซอง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหาการสร้างมูลค่าเพิ่มบนป้ายฉลากสินค้าประเภทครีมบำรุงผิวแบบซองทุกชนิด พร้อมทั้งสำรวจโดยการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบบซอง จำนวน 21 ผลิตภัณฑ์ จำแนกเป็น  44 ชนิด ภายในร้านสะดวกซื้อในอำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


            ผลการวิจัยพบว่า การสร้างมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏอยู่บนฉลากสินค้าประเภทครีมบำรุงผิวหน้าแบบซอง สามารถจัดได้ 14 รูปแบบ ได้แก่ 1) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้ภาษาต่างประเทศ 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการเพิ่มรูปภาพประกอบ โดยการใช้รูปภาพผิวหน้า ผลิตภัณฑ์หลัก รูปภาพส่วนประกอบ และวิธีการใช้ 3) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสร้างความแปลกใหม่ด้านบรรจุภัณฑ์ 4) การการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการระบุแหล่งผลิตหรือแหล่งนำเข้า 5) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการสร้างสโลแกนผลิตภัณฑ์ 6) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้ตัวอักษรพิเศษ สัญลักษณ์พิเศษ และตัวอักษรสี  7) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการระบุชนิดของผลิตภัณฑ์ 8) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการระบุถึงวิธีการใช้และคำเตือน 9) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการระบุศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 10) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการระบุพันธมิตรทางธุรกิจ 11) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการการระบุว่าผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง 12) การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการระบุรางวัลเพื่อการันตีคุณภาพผลิตภัณฑ์ และ 13) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการระบุถึงคุณสมบัติหรือคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ 14) การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการระบุระยะเวลาหมดอายุข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากการวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบป้ายฉากผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งพัฒนาการออกแบบป้ายฉลากสินค้าให้มีความโดดเด่น แตกต่าง และชัดเจน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าจดจำต่อผู้บริโภค พร้อมทั้งเกิดความภักดีในตราสินค้าต่อไป


 


              The purpose of this research is to study the value-added products that appear on face cream sachets. It is a qualitative research. With the content analysis, the research statics study all the value-added products which are in the category of moisturizers. The research statics also explored all the face cream sachets by taking photos of the products in the convenience store 21 products are classified into 44 types in Hua Hin, Prachuap Khiri Khan.


               The result revealed that the value-added products of face cream sachets can be concluded in 14 points which are 1) Adding value by using foreign language 2) Adding value by using illustration of the face skin, the product and the additional image 3) Adding value by using creative package of the product 4) Adding value by locating the product supplier 5) Adding value by creating a slogan of the product 6) Adding value by using special font and colored font characters 7) Adding value by specifying the type of the product  Adding value by offering manual and warning 9) Adding value by offering the customer service information 10) Adding value by specifying business alliances 11) Adding value by specifying a dermatologically tested or hypoallergenic tested 12) Adding value by specifying the guaranteed awards 13) Adding value by specifying the benefits of the product 14) Adding value by specifying an expiration period. The conclusions and recommendations of this research can be used as a guideline to design a product label and to improve the label to be attractive, unique and clear in order to make the product impressive in the eyes of consumers, along with becoming loyalty to the brand.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ