ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (The Effects of WebQuest Learning on Academic Achievement in Social Studies and Avidity for Learning of Matthayom -) The Effects of WebQuest Learning on Academic Achievement in Social Studies and Avidity for Learning of Matthayom Sueksa Six Students

Main Article Content

ศรันย์ นินทนาวงศา (Saran Nintanawongsa)
กิตติศักดิ์ ลักษณา (Kittisak Laksana)
กานต์รวี บุษยานนท์ (Kanrawee Busayanon)
อภิชา แดงจำรูญ (Apicha Dangchamroon)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
2) เปรียบเทียบคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560     จำนวน 284 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เว็บเควสท์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา 5) แบบประเมินคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวม 15 คาบเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การทดสอบค่าที (t test)  ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท์มีคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้หลังเรียนโดยเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


                    In this thesis, the researcher conducts a study for the following objectives. 1) To compare the academic achievement of learning management between WebQuest and ordinary method for social studies course of selected Matthayom Sueksa Six students. 2) To compare the avidity for after-class learning of the students between those who learned by WebQuest and by the ordinary method. The research population consisted of 284 Matthayom Sueksa Six students at Ramkhamhaeng University Demonstration School (RUDS), Bang Kapi district, Bangkok Metropolis. The students were studying in the second semester of the academic year 2017. The sample population consisted of sixty students divided into an experimental group of thirty students studying with WebQuest and a control group of thirty students studying through the use of traditional methods. The research instruments consisted of (1) lesson plans using WebQuest; (2) lesson plans utilizing traditional methods; (3) WebQuest as developed by the researcher; (4) an academic achievement test in social studies; and (5) an evaluation form determining avidity for learning. The experimental period was eight weeks in length for a total of fifteen study periods. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of mean (M) and standard deviation (SD). A t test technique was also employed by the researcher. Findings are as follows: 1) The students exhibited academic achievement in social studies using WebQuest at a higher level upon completion of the study than prior to its commencement at the statistically significant level of .05. 2) The students studying with WebQuest evinced academic achievement in social studies at a higher level than those studying through the use of traditional methods at the statistically significant level of .05.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ