การจัดทำคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (Preparation the Project Management Handbook Based on Strategic for Maechaem School, Chiang Mai Province)

Main Article Content

ศศิวิมล อินต๊ะเนตร (Sasiwimol Intaned)
ชูชีพ พุทธประเสริฐ (Choocheep Puthaprasert)
ยงยุทธ ยะบุญธง (Yongyouth Yaboonthong)

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการบริหารโครงการของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) 3) เพื่อจัดทำคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) การตรวจสอบประสิทธิภาพของคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการพัฒนาการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาการบริหารโครงการของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากกลุ่มเป้าหมายเป็นครูที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานนโยบายและแผนจำนวน 2 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปอุปนัย ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 มาจัดทำคู่มือตามองค์ประกอบของคู่มือที่ได้กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบประสิทธิภาพของคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้วิจัยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 5 คน โดยใช้แบบตรวจประสิทธิภาพเพื่อหาความถูกต้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อ ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพการปฏิบัติ/เป็นจริง โดยรวมทั้ง 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับ ปานกลาง โดยขั้นตอนที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย คือ ขั้นประเมินผลโครงการและขั้นควบคุมและติดตามการดำเนินงานตามโครงการ สัมพันธ์กับระดับปัญหาของการปฏิบัติ

  2. การบริหารโครงการของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) พบว่ามีการดำเนินงานครบทั้ง 5 ขั้นตอน และมีข้อเสนอแนะสำคัญ คือ มีการวางแผน วิเคราะห์ กำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทั้งของสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษา มีการติดตามงานโครงการตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในแผน และประเมินโครงการตามตัวชี้วัด วัตถุประสงค์และเป้าหมาการดำเนินโครงการ และที่สำคัญการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

  3. คู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ตามกรอบเนื้อหาเกี่ยวกับคู่มือการบริหารโครงการ มีกระบวนการบริหารโครงการ 5 ขั้นตอน และมีองค์ประกอบคู่มือ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา และส่วนที่ 3 ภาคผนวก

  4. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ประสิทธิภาพของคู่มือการบริหารโครงการตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

         The purposes of this research were: 1) To study the state, the problems and the needs for the project management development on the Strategic Plan for Maechaem School, Chiang Mai Province 2) To study the school project management where is Best Practice 3) To prepare the project management handbook based on the strategic plan for Maechaem School Chiang Mai Province and 4) To check the efficiency of the project management handbook based on the strategic plan of Maechaem School Chiang Mai Province. There are 4 steps of the methodology: Step 1, studying the state, the problems and the needs the project management development on the Strategic Plan for Maechaem School, Chiang Mai Province. The target group from a specific selection. The instruments used were questionnaire, data analysis by frequency, percentage, mean and standard deviation. Step 2, studying the school project management where is Best Practice. The target group is the teachers who were the chief of policy and planning in the school where is Best Practice. The tools used are structured interviews, data analysis by inductive summary.3) Preparing the project management handbook based on the strategic plan of Maechaem School Chiang Mai Province. The researcher used the results from step 1 and step 2 to prepare the project management according to the components of the handbook. Step 4, checking the efficiency of the project management handbook based on the strategic plan of Maechaem School Chiang Mai Province. The target group from a specific selection. The tool used was the checklist of the efficiency for accuracy, suitability, and feasibility of the project management handbook based on the strategic plan of Maechaem School Chiang Mai Province. Data were analyzed by using mean and standard deviation.


               The findings of the study were as follows: 1) The state, the problems and the needs for the project management development on the Strategic Plan for Maechaem School, Chiang Mai Province. The overall 5 steps of the state were moderate. The low steps were project evaluation and control and follow-up of project implementation. That was related with the overall 5 steps of the problem was high. The highest of the problem was control and follow-up of project implementation. 2) The project management of school with Best Practice found that there were 5 steps in operation and the important suggestion were to plan, analyze, and set goals with school objectives and standard education. They have project monitoring is carried out according to the time and evaluate project based on indicators; objectives and goals of the project. 3) Preparation of the Project Management Handbook Based on the Strategic Plan for Maechaem School, Chiang Mai Province includes 5 steps of the project management and the handbook is as follows lead, content section and appendix. 4) The preparation of the Project Management Handbook Based on the Strategic Plan for Maechaem School, Chiang Mai Province reveals that overall were accuracy, suitability, and feasibility.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ