การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษาวรรณกรรม และประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนสรุปความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (The Development of Instructional Model by Integrating Language-based, -) The Development of Instructional Model by Integrating Language-based, Literature-based and Experience-based Approach to Enhance Reading Comprehension and Summary Writing of Undergraduate Students

Main Article Content

สง่า วงค์ไชย (Sa-nga Wongchai)
อธิกมาส มากจุ้ย (Atikamas Makjui)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียน  สรุปความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์ 2) คู่มือประกอบการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความ 5) แบบบันทึกการเรียนรู้และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยวิเคราะห์หาร้อยละ (%)ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ (3.1) ขั้นเลือกสรรวรรณกรรม (3.2) ขั้นอ่านวรรณกรรม (3.3) ขั้นกลั่นกรองความคิด (3.4) ขั้นพัฒนาโครงเรื่องงานเขียน (3.5) ขั้นให้ข้อมูลย้อนกลับ และ (3.6) ขั้นจัดทำงานเขียนฉบับสมบูรณ์ และ 4) การวัดและ ประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอน

  2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า

                    2.1) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนในภาพรวมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบ โดยมีความสามารถด้านการตีความเพิ่มมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเข้าใจเนื้อหา และด้านการประเมินค่า 2.2) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการเขียนสรุปความหลังเรียนในภาพรวมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบ โดยมีความสามารถด้านเนื้อหาเพิ่มมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการใช้ภาษา และด้านการเรียงประโยค 2.3) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด


 


              The objectives of the research are as follows: 1) to develop an instructional model by integrating language-based, literature-based and experience-based approaches to enhance reading comprehension and summary writing of undergraduate students, and 2) to study the effectiveness of the instructional model. The participants in the research are 42 undergraduate students who are majoring in the Thai language, in the Faculty of Education, Ramkhamhaeng University. The subjects were selected by a simple random sampling method. Regarding the research tools, they can be divided into six parts: 1) the instructional model integrating language-based, literature-based and experience-based approaches, 2) a handbook that is added to the instructional model application, 3) a leaning management plan, 4) a reading for comprehension and summary test, 5) a learning record form, and 6) a questionnaire for the instructional model, which was analyzed for percentage, mean, standard deviation, t-test dependent, and content analysis.


               The results were as follows:


  1. The instructional model is composed of four components: 1) principles, 2) objectives, 3) six instructional processes (3.1) literature selection, (3.2) literature review, (3.3) refining thinking, (3.4) writing plot development, (3.5) reverse information-giving process, and (3.6) complete writing process and 4) measurement and evaluation of the instructional model.

  2. The effectiveness of the instruction model is as follows:

                    2.1) the students improved their reading comprehension after participating in the program, with a statistical significance of 0.5; the highest improvement was in interpretation, followed by content comprehension and evaluation, respectively; 2.2) students possessed greater ability to write summaries after participating in this program, with a statistical significance of 0.5; the greatest improvement was in content features, followed by their ability in language use and sentence arrangement, respectively; and 2.3) the student’s opinion toward the use of the developed instructional model shows a very high score.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ