การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์พหุกลุ่มเพื่อพัฒนาตัวแบบอิทธิพลการยอมรับ และใช้เทคโนโลยีสำหรับรถโดยสารประจำทางในจังหวัดขอนแก่น : ศึกษาเฉพาะกรณี KK Transit (Multinomial logistic regression analysis to develop influence of acceptance model and technology -) Multinomial logistic regression analysis to develop influence of acceptance model and technology usage in public transportation in Khon Kaen : KK Transit study

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ จุลเชาว์ (Sittisak Junchao)
โกวิท รพีพิศาล (Kowit Rapeepisarn)

Abstract

               การขนส่งสาธารณะมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ระดับนานาชาติ การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะมีความจำเป็นมาก แนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันการขนส่งสาธารณะมีการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น เช่น การนำระบบ GPS ในการระบุตำแหน่งนำมาติดตั้งใช้ในรถประจำทาง จัดทำโดย Traffy (ในเครือของ NECTEC) ร่วมกับ AIS และ ขสมก. ขอนแก่นซิตี้บัส (Khon Kaen City Bus) เป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด เป็นบริษัท หนึ่งที่มีการนำระบบ smart transportation โดยการพัฒนาแอปพลิเคชัน KK Transit ที่สามารถแสดงตำแหน่งรถประจำทาง แสดงหมายเลขทะเบียนของรถของพนักงาน ระบุความเร็ว ฯลฯ มีผู้ใช้แอปพลิเคชันจำนวนมากแต่การยอมรับเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างไร รวมทั้งมีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ผู้ใช้ยอมรับแอปพลิเคชันนี้ยังคงเป็นข้อสงสัย ผู้วิจัยจึงตั้งวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะใช้แอปพลิเคชัน KK Transit 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน KK และ 3) Transit ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากแอปพลิเคชัน KK Transit จากผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันในการโดยสารรถขนส่งสาธารณะ KK Transit จำนวน 400 คน โดยการแจกแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ มาสร้างตัวแบบ (สมการ) อิทธิพลการยอมรับการใช้แอปพลิเคชัน KK Transit ของผู้ใช้บริการ ด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์พหุกลุ่มจากตัวแปรทำนาย ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน อิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน และ ตัวแปรพยากรณ์ ความตั้งใจที่จะใช้งาน และ พฤติกรรมการใช้


               ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์พหุกลุ่ม พบว่าจากตัวแบบทั้ง 15 ตัวแบบของการยอมรับเทคโนโลยี ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน อิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความตั้งใจที่จะใช้งาน และ พฤติกรรมการใช้ สามารถพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานที่ไม่สามารถพยากรณ์อิทธิพลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 


              Public transportation is an important mechanism for economic driving force and, leveling up development of society and its economy to move forward to international stage. It is necessary to be aware of the public transportation as a foremost development for country’s future sustainability. Today, to increase capacities of the public transportation, advance technologies were introduced to the systems, such as GPS (Global Positioning System) for identifying locations of public buses, organized by Traffy, a cooperation of NECTEC (National Electronics and Computer Technology Center, Thailand), AIS (Advance Info Service), BMTA (Bangkok Mass Transit Authority), and Khon Kaen City Bus (a cooperation of Khon Kaen City Development Company Limited). They brought smart transportation application called “KK Transit” that has it functions such as identifying locations of public bus, displaying full detailed information of the buses including license plates, names of drivers, driving speeds, and etc. There are many app users, the questions are how do people accept the technology ? , What are factors that influence use on acceptance of the app ? This research aimed to 1) The influence factor of KK TRANSIT application 2) The influence factor of usage behavior of KK TRANSIT application 3) The influence factor of KK TRANSIT application acknowledgement. The participants of this research study were KK TRANSIT application user in taking public transportation in Khon Kaen, amounting to 400 people. The questionnaire was distributed for data collection. To bring the results Create a model (equation) by multinomial logistic regression statistic from predictor variable as follows : Perceived Usefulness, Perceive Ease of Use, Social Norm, Performance Expectancy, and Attitude toward using, and from predictor as follows : Intention to use, and Usage behavior.


               From the study of hypothesis testing with multinomial logistic regression statistic, a significance level of 0.05 indicate that all fifteen models of technology acceptance; application Perceived Usefulness, Perceive Ease of Use, Social Norm, Performance Expectancy, Intention to use, and Usage behavior can predict influence except attitude to usage which cannot predict with no significance level of 0.05.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ