ความเพียงพอของการออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุ (The Adequacy of Savings in Provident Funds for Retirement)

Main Article Content

สุนทรี เหล่าพัดจัน (Suntharee Lhaopadchan)
นพเก้า เรืองสมบัติ (Noppakoaw Raungsombut)
พรอนงค์ บุษราตระกูล (Pornanong Busaratragoon)
รัฐชัย ศีลาเจริญ (Ruttachai Seelajaroen)
รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น (Roongkiat Ratanabanchuen)
อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย (Anirut Pisedtasalasia)
ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ (Narongrid Asavaroungpipop)

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณเงินก้อนขั้นต่ำที่พึงมีเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ ประเมินความเพียงพอของการออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความเพียงพอด้วยการออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยใช้วิธีการสำรวจลักษณะการใช้จ่ายและระดับค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของผู้เกษียณอายุที่เคยทำงานในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ จำนวน 810 คน และวิธีการระดมความคิดเห็นผ่านการสัมมนากลุ่มย่อยของสมาชิกปัจจุบันของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 226 คน ผลการศึกษาพบว่าเงินก้อนพึงมีในระดับพอเพียงมีค่าระหว่าง 2.2 ล้านบาท ถึง 13.4 ล้านบาท ทั้งนี้เพศหญิงและผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครควรมีเงินก้อนขั้นต่ำสูงกว่าเพศชายและผู้ที่อาศัยในจังหวัดอื่น อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 26 สามารถบรรลุความเพียงพอของค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือเงินบำเหน็จ ระดับเงินเดือน อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนต่อปี และอัตราการสมทบจากนายจ้าง


 


                This research aims to estimate the required minimum lump sum for retirement, to assess the adequacy of savings in provident funds and to analyse the factors affecting the achievement of savings adequacy in provident funds (PVD). Based on the survey of average expenditure of 810 retirees who used to work in private or state owned enterprises and the brainstorming via the focus group seminar of 226 current PVD members, the findings show that the required minimum lump sum in the sufficiency level ranging from 2.2 million Baht to 13.4 million Baht. The retirees who are female and live in Bangkok should have minimum lump sum greater than those are male and live outside Bangkok. However, there are only 26 percent of respondents can reach the adequacy of expenditures after retirement from PVD. The factors affecting the achievement of such objective are pension, the level of salary, the annual growth rate of salary and the employer’s contribution rate to PVD.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts