ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่องเคมีอินทรีย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (Effects Of Learning Management Using Sscs Model On Problem Solving Ability, Achievement And Attitude Towards Chemistry In Organic Chemistry Of 11Th Grade Students)

Main Article Content

ศุภการณ์ ปลาสุวรรณ์ (Supakarn Plasuwan)

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และเจตคติต่อวิชาเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนชลกันยานุกูล จำนวน 35 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ แบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 45.00 ซึ่งมีพัฒนาการอยู่ในระดับปานกลาง

  2. การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 50.84 ซึ่งมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง

  3. การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ส่งผลให้เจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.54 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับที่ดี

      The purposes of this research were to develop the problem solving ability, learning achievement and attitude towards chemistry of eleventh grade students using SSCS model.This research was an action research. The participants in this study consisted of 35 eleventh grade students from Chonkanyanukoon school. The research instruments were lesson plans based on SSCS model, problem solving ability test, learning achievement test and attitude towards chemistry questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and measuring development score. The results indicated that:


  1. Learning management using SSCS model affected to problem solving ability in organic chemistry of 11th grade students which was higher than those at 45%. The development scores were at medium level.

  2. Learning management using SSCS model affected to achievement in organic chemistry of 11th grade students which was higher than those at 50%. The development scores were at high level.

  3. The attitude towards chemistry using SSCS model was 3.54 at high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ