กลวิธีการแสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ (Performing Techniques of Talad Characteristics in Thai Dance Drama)

Main Article Content

เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ (Charlermsak Yensamran)

Abstract

               ความเป็นตลาดในการแสดงละครรำเป็นการแสดงลีลา ท่ารำ อารมณ์ ความรู้สึก รวมทั้งสีหน้า แววตา คำพูดและน้ำเสียงของตัวละครเพื่อแสดงความรู้สึกคับข้องใจ ไม่พึงพอใจ หรือระบายความโกรธตามรูปแบบการแสดงโขน ละครใน ละครชาตรีและละครนอกของกรมศิลปากร  


               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำของกรมศิลปากร 4 ประเภท คือ โขน ละครชาตรี ละครนอก และละครใน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  


               ผลการวิจัย พบว่า กลวิธีการแสดงความเป็นตลาดในการแสดงละครรำ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบละครจารีต ประกอบด้วย โขนและละครในที่ตัวละครแสดงความเป็นตลาดในบทขับร้อง บทพากย์และบทเจรจา โดยมุ่งแสดงลีลาท่ารำและอารมณ์ความรู้สึกตามแบบแผนการแสดงทางนาฏยศิลป์ไทย ตัวละครพระและตัวละครนางสามารถสอดแทรกการแสดงออกทางสีหน้าและแววตา บางครั้งมีการสอดแทรกความตลกขบขันในการแสดงโขน 2) รูปแบบละครตลาด ประกอบด้วย ละครชาตรีและละครนอกที่ตัวละครแสดงความเป็นตลาดในบทขับร้อง บทเจรจา เพลงบรรเลงและคำพูดโต้ตอบของตัวละครที่ไม่ได้กำหนดไว้ในบทเจรจา โดยมุ่งแสดงลีลาท่ารำและอารมณ์ความรู้สึกตามธรรมชาติอย่างมีอิสระไม่ยึดแบบแผนการแสดงทางนาฏยศิลป์ไทย มีการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง แววตาและน้ำเสียงเกินจริง รวมทั้งสอดแทรกความตลกขบขันระหว่างแสดงเป็นระยะๆ   


 


               Talad characteristics in dance drama is an unrestrained behavioral expression motivated by frustration, dissatisfaction, or anger represented in dance drama formats, namely, Khon, Lakhon Chatri, Lakhon Nok, and Lakhon Nai, performed by the Fine Art Departments.


               This research aimed to study the performing techniques of Talad characteristics in the 4 types of dance drama by the Fine Arts Department: Khon, Lakhon Nai, Lakhon Chatri, and Lakhon Nok, using qualitative research methodology.


               The results revealed that, the performing techniques of Talad characteristics in dance drama can be divided into 2 types: 1) Conventional dance dramas, namely, Khon and Lakhon Nai, in which the characters represented Talad characteristics through lyrics, narration, and dialogues. The focus is on the conventional expression of dance styles and emotions according to dance drama tradition. Male and female protagonists are able to insert facial and eye expressions. In Khon, humor is sometime inserted. 2) Talad dance dramas, namely, Lakhon Chatri and Lakhon Nok, in which the characters represent Talad characteristics through lyrics, dialogues, music, and the improvised spoken exchanges that are not originally included in the dialogues. The focus is on the natural expression of dance styles and emotions freely without restriction to dance drama tradition. Facial expressions, gestures, eyes and tonal expressions are exaggerated, with the insertion of humor during the performance from time to time.


 


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts