การออกแบบและพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม (The Design and Development of STEM for Life, Economy and Society Materials and Learning Activity)

Main Article Content

สุทธิดา จำรัส (Suthida Chamrat)

Abstract

                 การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจและสังคม จำนวน 11 กิจกรรม  ที่เชื่อมโยงไปยังบริบทที่ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์ทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยมุ่งตอบคำถามวิจัยว่าลักษณะสำคัญของสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม เป็นอย่างไร ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาเริ่มจากการสร้างกรอบแนวคิดลักษณะสำคัญของสื่อและกิจกรรมสะเต็มที่มุ่งเน้น การเชื่อมโยงสู่ชีวิต เศรษฐกิจและสังคม แล้วจึงพัฒนากิจกรรมและรายการสื่อซึ่งเป็นทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ออกแบบไว้ จากนั้นผู้วิจัยได้ส่งเอกสาร สื่อและกิจกรรมทั้งหมดให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจารณาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหา ความเหมาะสมตามกรอบแนวคิดและลักษณะสำคัญ โดยนำผลที่ได้ไปปรับปรุงสื่อและกิจกรรมก่อนจะนำไปทดลองใช้ในชั้นเรียนและการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อนำผลย้อนกลับมาปรับปรุงสื่อและกิจกรรมเพื่อให้มีความสมบูรณ์และพร้อมใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบตรวจสอบรายการลักษณะสำคัญของสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมสะเต็มศึกษา และ (2) แบบบันทึกการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยข้อมูลที่ได้ทั้งในส่วนเอกสารแผนกิจกรรม รายการสื่อ สิ่งประดิษฐ์และชิ้นงานจากการทดลองใช้กิจกรรม จะถูกแปลงเป็นไฟล์เอกสาร/ไฟล์รูปภาพ ทั้งรูปแบบ Microsoft Words และ PDF เพื่อนำเข้าโปรแกรม Atlas.ti สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยจะนำเสนอ 2 ประเด็นได้แก่ (1) การออกและพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจและสังคม และ (2) ข้อมูลโดยภาพรวมและลักษณะสำคัญของสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมสะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ข้อค้นพบจากการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู นักสะเต็มศึกษา และผู้สนใจในการประยุกต์แนวคิดการพัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มเพื่อชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ในการออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับการพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาวิชาชีพครูในบริบทของตนเองได้   


 


              This research aims to design and development of 11 STEM for Life, Economy and Society Materials and Learning Activities. The activities related to contexts that students must interact, in current and future. It is to answer the research question- what is the key characteristics of STEM materials and learning activity which develop the quality of students’ life, society and economy.  The process started with the synthesis of STEM key characteristic conceptual framework that focused the relevance of life, society and economy context. After that, the researchers design and develop activities, including design and list material usage. All activity plan was sent to 3 STEM education specialists for content validity, STEM concepts and key characteristic of STEM review. Feedbacks from reviewers were used to edited and modified the activities before trying out them with students in classroom as well as the teacher professional development contexts. Feedbacks from trying out were also used to improve the activities and materials to make them more practical. The research instrument used to analyze STEM for life, society and economy materials and activities were (1) STEM material and activity key characteristic checklist and (2) Note-taking form for content analysis of STEM material and activity. All data (activity plan, list of materials, makings, and artifacts) were converted into document form. The document in Microsoft words, PDF and photo files were imported to Atlas.ti for data analysis using content analysis method. The findings were divided into 2 topics, (1) the design and development of STEM for life, society and economy material and learning activity and (2) the holistic view of STEM for life, society and economy material and learning activity. The research findings will direct the way to design and develop STEM activity by applying this research conceptual framework. Teachers, STEM educators and interested people cloud develop their activity for both students’ learning and teacher professional development in their own context. 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559).แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttps://www.mdes.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_ Economy_Plan-Book.pdf
แพรวไพลิน และ ณัชพล (2560). Middle Income Trap: กับดักเศรษฐกิจที่รอการก้าวข้าม. บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ, เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications /DocLib_/Article_7Nov2017.pdf
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2558). รายงานการพิจารณาศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบาย สะเต็มศึกษา (STEM Education) นโยบายเชิงรุกเพื่อพัฒนาเยาวชนและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์. เข้าถึงได้จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/ content_nla2557/d101558-19.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านสะเต็มของประเทศไทย. กรุงเทพฯ พริกหวานกราฟิก:
สุทธิดา จำรัส. (2560ก). การเรียนรู้ที่บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยี. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพ: จรัญสนิทวงศ์ การพิมพ์.
สุทธิดา จำรัส. (2560ข). สะเต็มศึกษาบนเส้นทางวิชาการรับใช้สังคม: จุดเปลี่ยนการเรียนรู้สู่อนาคต. ศึกษาศาสตร์ปริทรรศน์, 31(3), 34-47.
สุทธิดา จำรัส (2560ค). นิยามของสะเต็มและลักษณะสำคัญของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 13-34.
ภาษาต่างประเทศ
Association of American Universities. (2013). Framework for systemic change in undergraduate STEM teaching and learning. Retrieved from https://www.aau.edu/sites/default/ files/STEM Scholarship/AAU_Framework.pdf
Avery, Z. K., & Reeve, E. M. (2013). Developing effective STEM professional development programs. Journal of Technology Education, 25(1), 55-69.Capraro, R. M., Capraro, M. M., & Morgan, J. R. (2013). STEM project-based learning. Rotterdam: SensePublishers. doi, 10(1007), 978-94.
Chamrat, S. (2018). The Science Camp Model based on maker movement and tinkering activity for developing concept of electricity in middle school students to meet standard evaluation of ordinary national educational test (O-NET). AIP Conference Proceedings, 1923(1), 30008. https://doi.org/10.1063/1.5019499
Chulawattanatorn, M. (2012). Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education. Concept Paper for the IPST Steering Committee Meeting.
Fairweather, J. (2008). Linking evidence and promising practices in science, technology, engineering, and mathematics (STEM) undergraduate education. Board of Science Education, National Research Council, The National Academies, Washington, DC.
Geng, H. (Ed.). (2016). Internet of Things and Data Analytics Handbook. John Wiley & Sons.
Hawthorne, J., Kelsch, A., & Goodwin, B. (2016). Learning What “Works” in Transforming Pedagogy Within a STEM Curriculum. Retrieved from https://cop.hlcommission.org/Teaching-and-Learning/hawthorne16.html
Manyika, J., Chui, M., Bughin, J., Dobbs, R., Bisson, P., & Marrs, A. (2013). Disruptive technologies: Advances that will transform life, business, and the global economy (Vol. 12). San Francisco, CA: McKinsey Global Institute.
Myers, A., & Berkowicz, J. (2015). The STEM shift: A guide for school leaders. Corwin Press.
Nadelson, L. S., Callahan, J., Pyke, P., Hay, A., Dance, M., & Pfiester, J. (2013). Teacher STEM perception and preparation: Inquiry-based STEM professional development for elementary teachers. The Journal of Educational Research, 106(2), 157-168.
Neuendorf, K. A. (2002). The content analysis guidebook. Thousand Oaks, CA: Sage.
Sahin, A. (2013). STEM Project-Based Learning. In STEM Project-Based Learning (pp. 59-64). SensePublishers, Rotterdam.