การจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เกาะสุกร จังหวัดตรัง (Slow Tourism Management through Participatory Approach of Koh Sukorn Community, Trang Province)

Main Article Content

ธรรมจักร เล็กบรรจง Tammachak Lakbanchong

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ของชุมชนเกาะสุกร 2) สร้างรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะสุกร และ3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ที่พัฒนาขึ้นของชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประชาชนในชุมชน จำนวน 400 คน และวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลกลุ่มแรกเป็นตัวแทนชุมชน จำนวน 20 คน โดยการเปิดเวทีชาวบ้าน การประชุมย่อย การศึกษาดูงาน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกลุ่มที่สองเป็นนักท่องเที่ยวทดลอง จำนวน 40 คน ในการจัดการนำเที่ยวและประเมินรูปแบบการจัดการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา


                 ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์  ด้านนโยบายของหน่วยภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง และด้านภาวะผู้นำชุมชน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ของชุมชนเกาะสุกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (2) รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวผู้วิจัยใช้แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชนร่วมกับแกนนำชุมชน ตามลำดับดังนี้คือ 1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน 2.องค์กรชุมชนและการมีส่วนร่วม 3.การจัดการแหล่งท่องเที่ยว และ4.กระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ การศึกษาดูงาน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การร่วมกันสร้างสรรค์โปรแกรมนำเที่ยวแบบ Slow Tourism และเกิดการรวมกลุ่มการท่องเที่ยวในชุมชนขึ้น โดยมีการแบ่งการบริหารจัดการเป็นฝ่ายต้อนรับและมัคคุเทศก์ ฝ่ายการจัดการที่พักและการให้บริการ ฝ่ายอาหารเครื่องดื่มและสินค้าของที่ระลึก ฝ่ายประชาสัมพันธ์การตลาด และฝ่ายการจัดการแสดงและยานพาหนะ และเกิดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะสุกร (3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism พบว่า มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้พัฒนาการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในทุกองค์ประกอบ โดยมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว Slow Tourism ที่หลากหลายควบคู่กับการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีประสิทธิภาพและสามารถขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ของชุมชนเกาะสุกรได้อย่างยั่งยืน


 


               The objectives of this study were to: 1) study the factors affecting the participation in slow tourism management of Koh Sukorn community, 2) develop the model of slow tourism management through participatory approach for Koh Sukorn community, and 3) evaluate the developed model. Mixed methods was applied in the study. The quantitative method was employed for collecting preliminary data from 400 people in the community using questionnaire. Additionally, the qualitative method was used for collecting data from two sample groups which were 20 representatives of the community participating group interview, focus group, study trip, and knowledge management forum, and, 40 experimental tourists taking part in a pilot tour and evaluating the tourism management model. The collected data was analyzed with the program package for social science and content analysis.


               The finding revealed as follows: 1) Communication and public relations, government and related organization policy, and leadership affected the participation in slow tourism management with a significance level of 0.01. 2) the developed model consisted of tourism resources of the community, community organization and participation, tourist attraction management, and creative learning process. According to the study trip and the knowledge management forum, slow tourism program and community-based tourism group were created. The group was divided into different sections which were Welcoming and Tour Guide, Accommodation and Services, Food, Beverage and Souvenir, Public Relation Marketing, and Performance and Transport. Accordingly, slow tourism management through participatory approach was occurred. 3) The results from evaluating the developed model indicated that it was appropriate to apply the model for developing community-based tourism management with all aspects. The necessary development guidelines were to support an ongoing advertising and to support community participation in arranging a variety of slow tourism program together with learning. These would produce effective community-based tourism activities and sustainable slow tourism of Koh Sukorn community.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts