ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น (The Influence of Economic and Social Factors on Livelihood Security of Labor Households in Khon Kaen peri-urban)

Main Article Content

กฤษดา ปัจจ่าเนย์ (Kritsada Phatchaney)
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ (Thanapauge Chamaratana)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น มีหน่วยการวิเคราะห์ระดับครัวเรือน พื้นที่วิจัยคือบ้านเป็ด หมู่ที่ 1 บ้านเลิงเปือยหมู่ที่ 9 และบ้านสำราญหมู่ที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง 235 ราย วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลระดับตัวแปรเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลระดับหลายตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนมีรายได้มากกว่ารายจ่าย จำนวนอาชีพของครัวเรือนที่หลากหลาย (เฉลี่ย2.5) มีระดับการบริโภค (เฉลี่ย 6.52) และจำนวนการเคลื่อนย้ายแรงงาน (เฉลี่ย 1.72) ปัจจัยด้านสังคมของครัวเรือน พบว่า ความสัมพันธ์ในครัวเรือน (เฉลี่ย 3.01) บทบาทสมาชิกในครัวเรือน (เฉลี่ย 3.74) การติดต่อสื่อสาร (เฉลี่ย 3.38) ความสัมพันธ์นอกชุมชน (เฉลี่ย 3.51) ด้านระดับความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น ด้านที่ดินและที่อยู่อาศัย (เฉลี่ย 3.83) ด้านแรงงานในครัวเรือน (เฉลี่ย 3.21) ด้านอาหาร (เฉลี่ย 3.58) ด้านสุขภาพ (เฉลี่ย 3.84) ด้านการเข้าถึงการศึกษา (เฉลี่ย 3.65) สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) 0.397 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ระดับการบริโภค (Beta=0.107) บทบาทสมาชิกในครัวเรือน (Beta=0.237) การติดต่อสื่อสาร (Beta=0.386) และความสัมพันธ์นอกชุมชน (Beta=0.151)


 


              The objectives were to study the influencing economics and socials factors for livelihood security of labor households in Khon Kaen peri-urban. The households as the unit of analysis. The research setting was Baan Pet, Baan Lerng Plaiy, and Samran Village Khon Kaen province. Interviews were conducted with the 235 peri-urban household samples. Data analysis was completed with the Descriptive statistics, Multivariate data was analyzed with Multiple Linear Regression. The finding result based on this study revealed that economics factors-income households from the former times. The number of households multiple occupations (average=2.5), the consumption level (average=6.52), the number of labor mobility (average=1.72). Socials factors-The households relationship (average=3.01), the role of household members (average=3.74), the communication (average=3.38), the relationship outside the community (average=3.51). The level of household’s livelihood security in Khon Kaen peri-urban labor was found that land and housing (average=3.83), labor force (average=3.21), food (average=3.58), health (average=3.84) and access to education (average=3.65). Factors influencing the level of household livelihood security of peri-urban Khon Kaen households revealed that statistical significance of 0.01, and at the coefficient (R2) of 0.397. When considering individual items, it was found that if the consumption level increased (Beta = 0.107), the role of household members increased (Beta = 0.237), the communication increased (Beta = 0.386), the relationship outside the community increased (Beta = 0.151).

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กัญญามล อินหว่าง. (2555). ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
กุลยา วิวิตเสว. (2560). การกลายเป็นเมืองของพื้นที่ ‘วงแหวนรอบนอก’ ของกรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 46-61.
กฤษดา ปัจจ่าเนย์ และธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีพของครัวเรือนแรงงานชานเมือง. วารสารมนุษย์กับสังคม, 1(2), 159-175.
กฤษดา ปัจจ่าเนย์ และธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). วัฒนธรรมการบริโภคของครัวเรือนแรงงานชานเมืองขอนแก่น. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 6(2), 221-240.
คณิน หุตานุวัตร, อมร กฤษณพันธุ์, วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ, ณัฏฐกิษฐ นบนอบ และHuong, L. (2558). วารสารกรณีศึกษา: งานวิจัยในไทยด้านการรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Urban Climate Resilience Research, 1(1), 1-6.
ดารณี บัญชรเทวกุล. (2551). กระบวนการกลายเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศที่กำลังพัฒนา (URBANIZATION AND SOCIAL CHANGE IN DEVELOPING COUNTRIES). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิโรธ ทองธรรมชาติ. (2559). วิถีชีวิตและสภาวการณ์ปัจจุบันในสังคมเมือง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1669-1687.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง และวีระยุทธ โพธิ์ถาวร. (2558). “โครงการศึกษาศักยภาพของคนเมืองในการรับมือกับภัยพิบัติ: กรณีศึกษาชุมชนคลองหวะ ตำบลคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.” วารสารกรณีศึกษา: งานวิจัยในไทยด้านการรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Urban Climate Resilience Research, 1(1), 1-2.
ปฐม ทรัพย์เจริญ. (2553). สังคมวิทยาเมือง URBAN SOCIOLOGY. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัชราภา สิงห์ธนสาร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเขตตำบลแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 57-69.
พัชรินทร์ ฤทธิ์สำแดง. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมชุมชนชานเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านคลอง 7 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภาสกร หอยสังข์ทอง. (2561). ปัจจัยการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนสำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1002-1039.
เยาวนิจ กิตติธรกุล, วิจิตรา อุตมะมุณีย์ และศิริมาศ ภูวเจริญพงศ์. (2558). “โครงการศึกษาศักยภาพของคนเมืองในการรับมือกับภัยพิบัติ: กรณีศึกษาชุมชนคลองหวะ ตำบลคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา.” วารสารกรณีศึกษา: งานวิจัยในไทยด้านการรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Urban Climate Resilience Research, 1(1), 1-7.
วรายุทธ พลาศรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4), 187-203.
วราวรรณ เวชชสัสถ์. (2529). การศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของกลไกการขยายเมืองต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตในเขตชานเมืองกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรสังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์. (2552). เอกสารประกอบการค้นคว้าวิชาสถิติเพื่อการวิจัย (Statistics for Research). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ].
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2556). กระบวนการกลายเป็นเมืองในประเทศไทย Urbanization in Thailand. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ].

ภาษาต่างประเทศ
CARE. (2002). Household Livelihood Security Assessments: A Toolkit for Practitioners. Arizona: TANGO International.
Daovisan, H and Chamaratana, T. (2018). Confirmatory Factor Analysis of Assets That Influence Informal Garment Workers’ Livelihood Security in Laos. Societies, 8(45), 1-11.
Elizabethann, O.S. and Gary, R.R. (1999). Research Method for Public Administrators. 3rd ed. North Carolina: Addison Wesley Longman.
Lambregts, B., Panthasen, T., and Mancharern, S. (2015). Urbanization in the Bangkok Metropolitan region: trends, drivers and challenges. Case Study: Urban Climate
Resilience Research in Thailand, 1(1), 1-2.
Lindenberg, M. (2002). Measuring Household Livelihood Security at the Family and Community Level in the Developing World. World Development, 30(2), 301-318.
Neuman, W.L. (1994). Social Research Method: Qualitative and Quantitative Approaches. 2 ed. Wisconsin: A Division of Simon & Schuster.
Piorr, A. (2011). Peri-Urbanisation in Europe: Towards a European Policy to sustain Urban-Rural Future. Berlin: H.Heenemann.
Singh, P.K. and Hiremath, B.N. (2010). Sustainable livelihood security index in a developing country: A tool for development planning. Ecological Indicators, 10(2), 442-451.
Siribowonphitak, C., Pathumporn, J. and Esichaikul, R. (2018). Effects of Urban Tourism from Urbanization in Khon Kaen Province, Thailand. Veridian E-Journal Silpakorn University International (Humanities, Social Sciences, and Arts), 11(4), 32-46.
Thongyou, M., Sosamphanh, B., Chamaratana, T., and Phongsiri, M. (2014). Perception on Urbanization Impact on the Hinterlands: A Study of Khon Kaen City. Asian Social Science, 10(11), 33-41.