กระบวนการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำกระดาษข่อยเพื่องานศิลปะไทยเชิงพาณิชย์ (The Process of Preserving the Wisdom of the Making of ‘Khoi Paper’ as Commercial Thai Artworks)

Main Article Content

นฤมล ศิลปชัยศรี (Narumol Silpachaisri)

Abstract

              โครงการวิจัยกระบวนการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำกระดาษข่อยเพื่องานศิลปะไทยเชิงพาณิชย์  มีความมุ่งหมายให้ภูมิปัญญาการทำกระดาษข่อยซึ่งกำลังได้รับการฟื้นฟูและพัฒนา ณ ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถเผยแพร่คุณค่าของภูมิปัญญาผ่านกระบวนการของการนำเสนอต้นทุน ทางวัฒนธรรมเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำกระดาษและส่งเสริมให้เป็นกระดาษเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยเชิงพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาประวัติของการใช้กระดาษข่อยในประเทศไทย เพื่อศึกษาความสำคัญของการทำกระดาษข่อยเชิงอนุรักษ์ เพื่อศึกษากระบวนการการสืบทอดการทำกระดาษข่อยเพื่องานศิลปะไทย และเพื่อส่งเสริมให้ท้องถิ่นนำภูมิปัญญาการทำกระดาษข่อยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์


               ผลการวิจัย ด้านคุณค่าของกระดาษข่อยในมิติประวัติศาสตร์พบว่า กระดาษข่อยอยู่เบื้องหลังผลงานศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมของไทย เช่นการนำไปใช้เป็นสมุดไทยและงานศิลปกรรมต่าง ๆ ด้านการต่อยอดการใช้กระดาษข่อยด้านต่าง ๆ พบว่าควรปรับเปลี่ยนหน้าที่การใช้กระดาษข่อยแบบเดิม ๆ โดยนำไปสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถในการใช้กระดาษข่อยเชิงพาณิชย์


               แนวทางการปรับปรุงคุณภาพกระดาษข่อยเพื่องานศิลปะไทยเชิงพาณิชย์และกลยุทธ์ในการส่งเสริมกระดาษข่อยเพื่องานศิลปะไทยเชิงพาณิชย์ พบว่าการทำกระดาษควรเน้นขั้นตอนการคัดเนื้อเยื่อข่อยให้ได้เยื่อที่มีความขาวที่สุด เพื่อคุณภาพและราคากระดาษที่ดีขึ้นบทบาทของหน่วยงานรัฐบาลต่อการพัฒนาการตลาดกระดาษข่อยพบว่า ตลาดของกระดาษข่อย คือ ตลาดผู้ใช้กระดาษ ตลาดองค์กร ตลาดต่างประเทศ และตลาดรัฐบาล การส่งเสริมให้ตลาดทั้ง 4 นี้มีความสนใจและสนับสนุนกิจการการทำกระดาษอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยบทบาทหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน จากการศึกษาพบว่าหน่วยงานรัฐที่เป็นสถานศึกษา สามารถจัดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้น การรับรู้ของประชาชนให้เห็นประโยชน์ของการทำกระดาษข่อยซึ่งเป็นกระดาษในภูมิปัญญาดั้งเดิม

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
Aranyanak, J. (1996). Kāndūlǣraksāsinlapabōrānwatthu [A treatment of Antiquities]. Bangkok:
Thammasatprintinghouse.
จิราภรณ์ อรัณยะนาค. (2539). การดูแลรักษาศิลปโบราณวัตถุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Chan pho si, A. (2016). “kān prǣ plīan čhāk rūppatham khō̜ng čhittrakam Thai sū lak tham nai
phra phut sātsanā” [The transformation of the image of Thai painting into the
principles of Buddhism]. Veridian E-Journal Silpakorn University. 9, 2 (May-August) 2361-2375.
อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี. (2559). “การแปรเปลี่ยนจากรูปธรรมของจิตรกรรมไทยสู่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา”
Veridian E-Journal Silpakorn University. 9, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 2361-2375.
Čhongsathitwattana, P. (2001). Kānbǭrihānkāntalāt : Kānwikhrǫ Konlayut lækāntatsinčhai
[Marketing Management: Strategic Analysis and Decision Making]. Bangkok:Thammasat
printinghouse.
พิษณุ จงสถิตย์วัฒนา. (2544). การบริหารการตลาด : การวิเคราะห์ กลยุทธ์ และการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Ian, S. (2015). Prawatsātkradātlōk [Paper: An Elegy]. Translate by Ekyat, P. Bangkok: Open world.
แซมซัม เอียน. (2558). ประวัติศาสตร์กระดาษโลก. แปลจาก Paper: An Elegy. แปลโดย พลอยแสง เอกญาติ.
กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.
Kasikanbancha, P. (1933). Pāthokthārưangkānthamkradātkhǭi [Khoi Paper making]. Phrana
khon: Bamrungnukunkit.
กสิกรบัญชา,พระยา. (2476). ปาฐกถาเรื่องการทำกระดาษข่อย. พระนคร: บำรุงนุกูลกิจ.
Lalubae, S. (2014). Čhotmāihēt Lālūbǣ Rātchaʻānāčhaksiam [Lalubae Archive : Kingdom of Siam].
Translate from Du Royaume de Siam. Translate by San, T. Nonthaburi: Sripanya.
ลาลูแบร์, ซิมอง เดอร์. (2557). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. แปลจาก Du Royaume de Siam.
แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
Phakdeekham, S. (Editor).(2009). Čhotmāihētwatphrachētphonsamairatchakānthī 1-4 [Archive of
Watphrachetphon King Rama1-4]. Bangkok: Amarin Printing & Publishing.
ศานติ ภักดีคำ. (บรรณาธิการ). (2552). จดหมายเหตุวัดพระเชตุพนสมัยรัชกาลที่ 1-4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น
ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
Rưangyotchantana, J. (2017). ‘Kānsakatsēnlūlōtlækānthamkradātčhākplưakkhǭi [Cellulose
extraction and paper making from Khoi]. Veridian E-Journal Silpakorn University. 4, 3
(May-June), 50-59.
จุฑามาส เรืองยศจันทนา. (2560). “การสกัดเซลลูโลสและการทำกระดาษจากเปลือกข่อย.” Veridian E-
Journal Silpakorn University. 4, 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน), 50-59.
Rưangyotchantana, J. (2017). (interview 20 July 2517), Independent Conservator. Interviewer,
Silpachaisri, N.
จุฑามาส เรืองยศจันทนา. (2560). (สัมภาษณ์ 20 กรกฎาคม 2560). นักอนุรักษ์อิสระ. สัมภาษณ์โดยนฤมล ศิลปชัยศรี.
Rưthathiwēt, N. (interview 18 November 2517), Teacher of The Royal Craftsmen School .
Interviewer, Silpachaisri, N.
นิศิษย์ ฤทธิเวช. (สัมภาษณ์ 18 พฤศจิกายน 2560). ครูสอนทำกระดาษข่อยโรงเรียนช่างฝีมือในวัง(ชาย).
สัมภาษณ์โดยนฤมล ศิลปชัยศรี.
Sangsuwo, W. (interview 2 Auguat 2517). Lecturer, Department of Fine Art, Songkhla Rajabhat University. Interviewer, Silpachaisri, N.
วารี แสงสุวอ. (สัมภาษณ์ 2 สิงหาคม 2560). อาจารย์ประจำสาขาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สัมภาษณ์โดยนฤมล ศิลปชัยศรี.
Silpakorn Department. (2012). Wichaāchīpchāosiam [Occupation of Siamese]. Bangkok :
Silpakorn Department.
ศิลปากร, กรม. (2555). วิชาอาชีพชาวสยาม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
Songkhling, S. (interview 16 June 2517), Teacher of The Support Foundation. Interviewer,
Silpachaisri, N.
สมพงษ์ สงคลิ้ง. (สัมภาษณ์ 16 มิถุนายน 2560) ครูสอนทำกระดาษข่อยศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด.สัมภาษณ์
โดยนฤมล ศิลปชัยศรี.
Songkhling, S. (interview 12 January 2518), Teacher of The Support Foundation. Interviewer,
Silpachaisri, N.
สมพงษ์ สงคลิ้ง. (สัมภาษณ์ 12 มกราคม 2561). ครูสอนทำกระดาษข่อยศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด.สัมภาษณ์โดย นฤมล ศิลปชัยศรี.
Songkhling, S. (interview 15 April 2518), Teacher of The Support Foundation. Interviewer,
Silpachaisri, N.
สมพงษ์ สงคลิ้ง. (สัมภาษณ์ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๑). ครูสอนทำกระดาษข่อยศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด. สัมภาษณ์โดย นฤมล ศิลปชัยศรี.
Thianprasert, A. (2011). Khūmưkānʻanuraksinlapakam : Čhitkambonphābailængānkradāt
[Art Conservation Guide: Painting on Canvas and Paper Work]. Bangkok: Research and
Development Institute Silpakorn University.
อริศร์ เทียนประเสริฐ และคณะ. (๒๕๕๔). คู่มือการอนุรักษ์ศิลปกรรม : จิตรกรรมบนผ้าใบและงานกระดาษ.
กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
‘Thamkradātthai’ Wachirayānwisēt [Thai paper Making]. 6 sheet Thursday 19 March 1891.
“ทำกระดาษไทย” วชิรญาณวิเศษ เล่มที่ 6 แผ่น 20 วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม ร.ศ. 109.
‘Thamkradātthai’ Wachirayānwisēt [Thai paper Making]. 6 sheet Thursday 26 March 1891.
“ทำกระดาษไทย” วชิรญาณวิเศษ เล่มที่ 6 แผ่น 21 วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม ร.ศ. 109.
‘Thamsamutkhǭi pātimōk Phrarātchaphithīnailūang raw kao’ (2017). Daily news No.24676,1,9.
“ทำสมุดข่อย “ปาฏิโมกข์” พระราชพิธีในหลวง ร.9.” (2560). เดลินิวส์, ฉบับที่ 24676 ,1, 9.
Valerie, H. (2014). Phlikprawatsātsēnthāngsāimai [The Silk Road : A new History], Translate by
Singhadēcha, N .Bangkok: Matichon.
วาเลอรี แฮนเซน. (๒๕๕๗). พลิกประวัติศาสตร์เส้นทางสายไหม. แปลจาก The Silk Road : A new history.
แปลโดย นงนุช สิงหเดชะ. กรุงเทพฯ: มติชน.
Wanitchakon, A. (2016). Kānʻǭkbǣpphalittaphanthǭngthin [Local Product Design]. Bangkok:
Chulalongkorn University Press.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Wirapračhak, K.(2010). Kānthamsamutthailækāntērīyombailāna [Thai book and preparation].
Bangkok: Library National Silpakorn Department.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2553). การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรม
ศิลปากร.

ภาษาต่างประเทศ
Hunter, Dard. (1974). Papermaking: the history and technique of an ancient craft. New York: Dover
Publications.