การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Media Development video to strengthen the identity of the students in the public mind of Srinakharinwirot University)

Main Article Content

ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา (Tanomsak Srichantra)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ  2) พัฒนาสื่อสื่อวีดีทัศน์เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะให้มีประสิทธิภาพในระดับดี และ 3) เปรียบเทียบอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ ระหว่างก่อนกับหลังการทดลองใช้สื่อวีดีทัศน์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างฝายอนุรักษ์เพื่อการบริหารจัดการต้นน้ำในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ 2) สื่อวีดีทัศน์เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่อวีดีทัศน์เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2) สถิติเชิงบรรยาย และ 3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบไม่เป็นอิสระจากกัน


               ผลการวิจับพบว่า 1) โมเดลอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2= 18.14df= 16 p-value = 0.31, GFI=0.98, AGFI=0.95, CFI=1.00, RMSEA=0.02, SRMR=0.02) 2) สื่อวีดีทัศน์เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะให้มีประสิทธิภาพในระดับดีมาก  (M=4.11, SD = .55) และ 3) หลังจากที่นิสิตได้ทดลองชมสื่อวีดีทัศน์เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ นิสิตมีค่าเฉลี่ยอัตลักษณ์ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนชมสื่อวีดีทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 


                This research purposes were 1) to study factor of identity in the public mind 2) to develop of video clip to strengthen the identity in the public mind of good effective and 3) to compare of identity in the public mind between before and after of video clip. The population was two hundred forty undergraduate students at Srinakharinwirot University who enrolled in Workshop to build dams to conserve water management in the community in year 2016. The instrument were 1) identity in the public mind questionnaire 2) Media video and 3) opinion of Media video to strengthen the identity in the public mind questionnaire. The statistical employed were analyzed by 1) confirmatory factor analysis 2) descriptive statistics and t-test for dependent samples.


               The result of research were 1) identity in the public mind model in accordance fit with the empirical data (c2= 18.14  df= 16 p-value =0.31, GFI=0.98, AGFI=0.95, CFI=1.00, RMSEA=0.02, SRMR=0.02) 2) develop of video clip to strengthen the identity in the public mind of very good effective and3) after students both joined the project and watch the developed video clip, as the combination, they have got the better average score than just before watching the developed video clip at statistic significantly .01.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts