การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ (A Study of The Relationships between Mental Health Status and Stress of Nursing Student of Boromarajonani College of Nursing Nopparat Vajira )

Main Article Content

พรรณภา เรืองกิจ (Phannapa Ruangkit)
สนธยา มณีรัตน์ (Sonthaya Maneerat)
เยาวลักษณ์ มีบุญมาก (Yaowaluck Meebunmak)

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล  เปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิตและความเครียด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นปีที่ศึกษา รายได้ที่ได้รับ รายได้ของครอบครัว และ สถานภาพสมรสของบิดามารดา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ จำนวน 178 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประเมินสุขภาพทั่วไป (General Health Questionnaire; GHQ–28) และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test 20; SPST–20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)


               ผลการวิจัยพบว่า


               1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลร้อยละ 70.20 อยู่ในระดับปกติ และร้อยละ 29.80 มีระดับภาวะสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ร้อยละ 43.30 อยู่ในระดับปานกลาง 


               2) นักศึกษาพยาบาลที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายได้ของครอบครัว และสถานภาพสมรสของบิดามารดาที่ต่างกัน มีภาวะสุขภาพจิตและความเครียดไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาพยาบาลที่เรียนชั้นปีต่างกันและมีรายได้ที่ได้รับต่อเดือนต่างกัน มีภาวะสุขภาพจิตและความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


               3) ภาวะสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียด (r =.625, P <.001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการจัดการความเครียด และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ


 


               This research were conducted to study the mental health status and stress of nursing student, compare the mental health status and stress of nursing students in different of GPA, parent income, parent’s marital status, academic year and monthly income, and to study the relationship between mental health status and stress.


               The sample included 178 nursing students of Boromarajonani College of Nursing Nopparat Vajira. The research tools consisted of personal information questionnaires, the General Health Questionnaire; GHQ–28 and the Suanprung Stress Test 20; SPST–20.


               Data were analyzed by using descriptive statistic, the one way ANOVA, and the Pearson’s product correlation coefficient.


               The results indicated that


               1) 70.20 percent of the nursing students had normal mental health status while 29.80 percent had a mental health problem. The nursing students had a moderate level of stress 43.30 percent.


               2) The nursing students with different GPA, parent income and parent’s marital status had no significance different in mental health status and stress while the nursing students with different academic year and monthly income had significance different in mental health status and stress


               3) Correlational analysis revealed that mental health was positive related to stress in nursing students (r =.625, P <.001).


               The advantage of this research was to promote the stress management and to prevent the mental health problem of the nursing students of Boromarajonani College of Nursing Nopparat Vajira.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
Bundasak, T., Chaowiang, K., & Jungasem, N.(2015). Patčhai thamnāi khwāmkhrīat khō̜ng naksưksā phayābān sāttra bandit : kō̜ranī sưksā witthayālai phayābān bō̜rom rāt chonnanī phra phut bāt . [Predictive Factors of Stress among Nursing Students: A Case Study of Boromarajonani College of Nursing, Praputhabat] Retrived on 27 August 2018 from https://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2015/proceeding/1444187050706842007486.pdf
ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, และ นฤมล จันทรเกษม. (2558). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต: กรณีศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2561 จาก https://www.administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/ upload_doc/2015/proceeding/1444187050706842007486.pdf

Dallas, C. J., Puapan, S., & Vatanasin, D. (2016). Patčhai thī mī ʻitthiphon tō̜ phāwa sukkhaphāp čhit khō̜ng naksưksā phayābān [Factors Influencing Mental Health Status among Nursing Students.]. The Journal of Facuity of Nursing Burapha University. 23(3).1-13
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, สายใจ พัวพันธ์ และดวงใจ วัฒนสินธ์ .(2558) .ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.23(3).1-13

Sonpaveerawong, J., et al. (2016). Khwāmkhrīat kānčhatkān khwāmkhrīat læ khwāmtō̜ngkān khwām chūailư̄a khō̜ng kānsưksā phayābān . [Stress, Stress Management and the Need to Supports Nursing Students] .Journal of Nursing and Euducation. 9(3), 36-49.
จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์ และ คณะ.(2559) ความเครียด การจัดการความเครียด และความต้องการความช่วยเหลือของการศึกษาพยาบาล .วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9 (3), 36-49.
Nabkasorn, C., Tanee, S., Suntornwijit, S. (1999). Khwāmsamphan rawāng sukkhaphāp čhit kap phon samrit thāngkān rīan khō̜ng nisit phayābān sāt mahāwitthayālai būraphā . [Relationship Between Mental Health and Academic Achievement of Student Nurse Burapha Univesity] .The Journal of Facuity of Nursing Burapha University. 7(3),25-33.

ชนัดดา แนบเกสร, สงวน ธานี, และ สราวลี สุนทรวิจิตร (2542).ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(3),25-33.
Sihawong, S. & et al.(2018). Patčhai thī song phon tō̜ khwāmkhrīat khō̜ng naksưksā Khana Phayābānsāt mahāwitthayālai ʻubonrātchathānī . [Factors Causing to Stress of Nursing Students, Ubon Ratchathani University]. HCU Journal of health Science. 21(42),93 – 106.
สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ และคณะ.(2561).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ. 21(42),93 – 106.

Thanoi, W., Pornchaikate, A., Ondee, P.R.(2012). Patčhai thī mī ʻitthiphon tō̜ phāwa sukkhaphāp čhit khō̜ng naksưksā phayābān sāt mahāwitthayālai Mahidon . [Factors Affecting the Mental Health of the Faculty of Nursing Students.] Mahidol University .Thai Journal of Nursing Council . 27 (Special Issue) 60-76.
วารีรัตน์ ถาน้อย, อทิตยา พรชัยเกตุ, และ ภาศิษฎา อ่อนดี. (2555).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารสภาการพยาบาล. 27(ฉบับพิเศษ), 60-76.

Tantalanukul, S.,Wongsawat, P. (2017). Khwāmkhrīat læ kānčhatkān khwāmkhrīat khō̜ng naksưksā phayābān. [Stress and Stress Management in Nursing Students]. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 9(1), 81-92.
สืบตระกูล ตันตลานุกุล และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์ .(2560).ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.9(1), 81-92.

Thaweekoon, T., Nintachan, P., Sangon, S.,(2013). Patčhai thamnāi khwāmkhrīat khō̜ng naksưksā phayābān sāttra mahābandit. [Factors Predicting Stress in Graduate Nursing students]. .Nursing Journal of the Ministry of Public Health.
ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และโสภิณแสงอ่อน. (2555).ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 1-11.

Loan, T. B., Hengudomsub, P., Chaimongkol, N. (2015). Patčhai thī samphan kap phāwa sukkhaphāp čhit khō̜ng naksưksā phayābān Wīatnām. [Factors Related to Mental Health among Vietnamese Nursing Students].Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 10(4),173-189.
บุย ธิ โหลน, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, และ นุจรี ไชยมงคล. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลเวียดนาม. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 10(4),173-189.

Mingprasert, A. (2014). Kānsưksā sukkhaphāp čhit læ khwāmkhrīat khō̜ng naksưksā . khana phēsatchasāt Mahāwitthayālai Rangsit .[A study of Mental Health and the Stress of undergraduate Students in Faculty of Pharmacy at Rangsit University]. Journal of Social Science and Humanities. 40(2), 211-227
อรุณี มิ่งประเสริฐ.(2557).การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 40(2), 211-227

Nintachan, P., Thaweekoon, T., Wittayasooporn, J., Orathai, P. (2011). Khwām khængkrǣng nai chīwit læ khwāmkhrīat khō̜ng naksưksā phayābān rōngrīan phayābān rāmāthibō̜dī [Resilience and Stress Among Nursing Students at Ramathibodi School of Nursing]. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภรม, และพิสมัย อรทัย.(2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและ สุขภาพจิต. 25(1), 1-13.

Trachoo, A., Kaewpornsawan, T., Panyapas, S. .(2013). Phrưttikam thamrāi tonʻēng nai dek læ wairun thīmā rap kān raksā thī rōngphayābān Siriraj [Suicidal Behavior in Children and Adolescents who Received Treatment at Siriraj Hospital] Jornal Psychiatric Association Thailand 2013; 58(4): 323-332
อัจฉรา ตราชู, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์,และ สิรินัดดา ปัญญาภาส. (2556). พฤติกรรมทำร้ายตนเองในเด็กและวัยรุ่นที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58(4), 323-332.

ภาษาต่างประเทศ
Burnard, P., et al.(2008). A comparative, longitudinal study of stress in student nurses in five countries: Albania, Brunei, the Czech Republic, Malta and Wales. Nurse Education Today. 28, 134-145
Chris, G., Martin, D., & Marianne, M. (2011). Stress, copping, and satisfaction in nursing student. Journal of Advanced Nursing. 67(3),621–632.
Edwards, D., Burnard, P., Bennett, K., & Hebden, U.(2010). A longitudinal study of stress and self-esteem in student nurse.Nurse Education Today. 30(1),78-84.
Jimenez, C., Navia–Oscorio P. M., & Diaz, C.V.(2010). Stress and Health in novice and experienced nursing students. Journal of Advanced Nursing .66 (2).442-445.
LeDuc, K. (2010). Baccalaureate Nursing Students’ Stressors and Coping Resources. Research News. 17(2),15-16.
Omigbodan, O.O., Odukogbe, Akin-Tunde. A., Omigbodun, A. O., Yusuf, O. B., Bella. T.T, & Olayemi, O. (2006).Stressors and psychological symptoms in students of medicine and aliiied health professions in Nigeria. Social Psychiatry Epidemiology. 41(5),115-421.
Pulido-Martos M., Augusto‐Landa J.M. & Lopez‐Zafra E. (2011). Sources of stress in nursing students: a systematic review of quantitative studies. International Nursing Review .59, 15–25.
Seyedfatemi, N., Tafreshi, M. & Hagani, H. (2007). Experienced stressors and coping strategies among Iranian nursing students. BMC Nursing. 6(11).
Shives, L. R. (2012). Basic concepts of psychiatric–mental health nursing. New York: Lippincott Williams & Wilkins.
Wejdan, A. Khater, Laila ,M. Akhu-Zaheya, Insaf, A. Shaban.(2014).Sources of Stress and Coping Behaviours in Clinical Practice among Baccalaureate Nursing Students. International Journal of Humanities and Social Science .4(6).
York, M. & Thomas, L.(2003). Improving the retention of students from lower socio-economic groups. Journal of Higher Education Policy and management. 25, 63-75.