การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ (A Study of the Need for Teaching and Learning in Sports Education of Students at Silpakorn University, Sanamchandra Palace Campus)

Main Article Content

วิชิต อิ่มอารมย์ (Vichit Imarom)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้เป็น การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์และ 2)ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชากีฬาศึกษา ปีการศึกษา  2556 รายวิชากีฬาศึกษา 10 ชนิดกีฬา โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 กีฬาที่ต้องเรียนในอาคารในร่ม ประกอบด้วย 1)กีฬาบาสเกตบอล 414 คน 2)กีฬาแบดมินตัน 77 คน 3)กีฬาศิลปะป้องกันตัว 63 คน4)กีฬาวอลเลย์บอล 65 คน 5)กีฬาเทเบิลเทนนิส 32 คน และกลุ่มที่ 2 กีฬาที่เรียนบริเวณสนามกลางแจ้งประกอบด้วย 1)กีฬาแฮนด์บอล 169 คน 2)กีฬาเปตอง 111 คน 3)กีฬาเน็ทบอล 112 คน 4)กีฬาฟุตบอล 58 คน 5)กีฬาเทนนิส 66 คน รวมทั้งสิ้น 1,167 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน  400 คน  ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนของรายวิชา มีความคลาดเคลื่อนที่ระดับ .05 และผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนวิชากีฬาศึกษา จำนวน 10 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ Checklist, Rating Scale และแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified)


ผลการวิจัย


               สถานภาพทั่วไปจำแนกเป็นด้านเพศ พบว่า เป็นนักศึกษาเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (  =70.50 และ = 29.50 ) ด้านคณะวิชา  เป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ลำดับที่ 1( =40.25) รองลงมาลำดับที่  2 เป็นคณะวิทยาศาสตร์ ( =27.50)  ลำดับที่ 3 คณะอักษรศาสตร์                 ( =17.50) ลำดับที่ 4 คณะเภสัชศาสตร์ ( =11.25 ) ลำดับที่ 5 คณะศึกษาสตร์ ( =3.50) และด้านชนิดกีฬา ลำดับ 1 เป็นกีฬาบาสเกตบอล ( =31.75)  รองลงมาเป็นกีฬาแฮนด์บอล ( =17.25) ลำดับ 3 กีฬาเปตองและกีฬาเน็ทบอล ( =23.00) ลำดับที่ 4 กีฬาเทนนิส ( =6.75) ลำดับ 5 กีฬาแบดมินตัน ( =5.75) ลำดับ 6 กีฬาวอลเลย์บอลและกีฬาศิลปะป้องกันตัว (= 10.00) ลำดับ7 กีฬาฟุตบอล ( =12.00) และลำดับ 8 กีฬาเบิลเทนนิส ( =2.50)  ส่วนด้านผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนวิชากีฬาศึกษา เป็นเพศชาย ( =50.00) และเป็นหญิง ( =50.00)  ผลการศึกษาความต้องการจำเป็น ในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษาตามความต้องการจำเป็นภาพรวมทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมสภาพเป็นอยู่ อยู่ในระดับมาก( = 3.881, S.D.=0.812) สภาพที่ควรเป็นอยู่ในระดับมาก( =4.499, S.D.=0.624) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ” ด้านครูผู้สอน และการสอน ” ( = 4.345 S.D.= 0.702) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “ด้านการวัดผลและประเมินผล ” ( = 4.107 S.D.= 0.712) “โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา” ( = 3.816 S.D.= 0.799) “ด้านตัวผู้เรียน” ( = 3.654 S.D.= 0.934) “ด้านสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวก” ( = 3.482 S.D.= 0.915) ในภาพรวมของสภาพที่ควรเป็น อยู่ในระดับมาก ( = 4.499 S.D.= 0.624) พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ” ด้านครูผู้สอน และการสอน ” ( = 4.638  S.D.= 0.568) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “ด้านการวัดผลและประเมินผล ” ( = 4.549 S.D.= 0.594) “โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา” ( = 4.477 S.D.= 0.627) “ด้านสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวก” ( = 4.455 S.D.= 0.646)  “ด้านตัวผู้เรียน” ( = 4.374 S.D.= 0.684) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของการศึกษาความต้องการจำเป็น ในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา  ภาพรวมในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา มีค่าเท่ากับ  0.159 พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า “ด้านสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวก” (PNImodified = 0.279) มีค่าดัชนีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็น “ด้านตัวผู้เรียน” (PNImodified = 0.197) “โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา” (PNImodified = 0.173) “ด้านการวัดผลและประเมินผล” (PNImodified = 0.108) ”ด้านครูผู้สอนและการสอน” (PNImodified = 0.067) ผลการศึกษาด้านคณะวิชา โดยภาพรวมของสภาพที่เป็นอยู่  อยู่ในระดับมาก( = 3.911 S.D.= 0.783)  พบว่า“คณะศึกษาศาสตร์”( = 4.796 S.D.= 0.428 ) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “คณะเภสัชศาสตร์ ” ( = 4.631S.D.= 0.535)“คณะอักษรศาสตร์”( = 4.523S.D.= 0.622)“คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”  ( = 4.474 S.D.=0.632) “คณะวิทยาศาสตร์” ( = 3.448 S.D.= 0.655) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของการศึกษาความต้องการ ภาพรวมในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา มีค่าเท่ากับ  0.170  พบว่าคณะศึกษาศาสตร์(PNImodified = 0.210) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “คณะเภสัชศาสตร์  (PNImodified = 0.179)“คณะอักษรศาสตร์”(PNImodified= 0.177) “คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”(PNImodified= 0.170) คณะวิทยาศาสตร์” (PNImodified= 0.140) และผลการศึกษาด้านเพศ โดยภาพรวมของสภาพที่เป็นอย่าง ผลการศึกษาด้านเพศ โดยภาพรวม ภาพรวมของสภาพเป็นอยู่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.452 S.D.= 0.643) พิจารณาเป็นรายบุคคลสภาพที่เป็นอยู่ “เพศหญิง”( = 4.072 S.D.= 0.675) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “เพศชายสภาพที่เป็นอยู่ ” ( = 3.824 S.D.= 0.656) สภาพที่ควรจะเป็น“เพศหญิง”( = 4.544 S.D.= 0.589) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “เพศชายสภาพที่เป็นอยู่ ” ( = 4.360 S.D.= 0.698) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของการศึกษาความต้องการจำเป็น “เพศหญิง” (PNImodified = 0.121) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น “เพศชาย” (PNImodified = 0.146)  ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา พบว่า 1)ด้านอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกสถานที่ ควรสำรวจทุกภาคการศึกษา เพื่อจัดทำและจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์กีฬาที่เป็นวัสดุสิ้นเปลืองและตั้งงบประมาณซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด ส่วนเรื่องสนามกีฬาต้องประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณการสร้างสนามกีฬาและขอการสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชนเพิ่มเติมส่วนการบริหารการจัดการอำนวย ความสะดวกในการยืม-คืนอุปกรณ์ การบริการของเจ้าหน้าที่สนามกีฬามีจิตใจการให้บริการ ควรจัดระบบให้สะดวกต่อผู้เข้ามาใช่บริการ 2) ด้านตัวผู้เรียน ควรให้นักศึกษารู้ถึงประโยชน์การออกกำลังกายโดยใช้กีฬาจนนำไปใช้ชีวิตระจำวันและอนาคตต่อไป 3) ด้านครูผู้สอนและการสอน ครู ผู้สอน และการสอนในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา ควรต้องให้ลงปฏิบัติจริง  สาธิตตามหลักการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เรียน 4) โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา ควรจัดโปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษาในการจัดการเรียนการสอนวิชากีฬาศึกษา ภาคทฤษฎีมีความเหมาะสมสอดคล้องกับภาคปฎิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยเพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจเข้าเรียนทุกครั้ง 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรจัดให้มีการประเมินการเรียนการสอนทุกๆชั่วโมงที่เสร็จสิ้นการเรียนการสอนเพื่อสร้างความกระตือรือร้นให้ผู้เรียนสนใจและมาเรียนทุกครั้งเพราะการสอบ จะช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาไม่มาสายและไม่ขาดเรียน


 


               This research studied of the needs of the students in Silpakorn University, Sanam Chandra Palace campus. The objectives of this study were 1) to study the needs of the students in Silpakorn University, Sanam Chandra Palace campus 2) to study the teaching and learning methods for Sports Education of Silpakorn University, Sanam Chan Palace campus students. The population used in this study included students enrolled in Sports Education subject, academic year 2013, which covered 10 types of sports—Group 1 is sports that need to be taught in an indoor building 1) 414 students for basketball, 2) 77 students for badminton, 3) 63 students for martial arts, 4) 65 students for volleyball, and 5) 32 students for table tennis. As for Group 2, they were outdoor sports in the field consisting of 1) 169 students for handball, 2) 111 students for pétanque, 3) 112 students for netball, 4) 58 students for Futsal, 5) and 66 students for tennis. There were 1,167 students in total. The sample size was 400 students selected by stratified random sampling with discrepancies at .05 level. There were 10 subjects of the curriculum administrators and the instructors of the Sport Education who were selected by a purposive sampling method. The data collection instruments were questionnaire, checklist,Rating Scale and open-ended questionnaire. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and the index of priority ordering needs. (PNImodified)


               Research results: based on the analysis of the data for the first purpose, it was firstly found that female were more than male students ( =70.50 and = 29.50). Next, most students were from the Faculty of Engineering and Industrial Technology ( = 40.25), followed by the Faculty of Science ( =27.50), Arts Council ( =17.50), Faculty of Pharmacy ( = 11.25), and Faculty of Education ( =3.50). Also, the sport that was mostly chosen was basketball ( =31.75), followed by handball ( =17.25), sports, petanque and netball ( = 23.00), Tennis ( = 6.75), Badminton ( = 5.75),Volleyball and Martial Arts ( = 10.00), Futsal Sports ( = 12.00), and tennis ( = 2.50). The instructors of sports education were male ( = 50.00) and female ( = 50.00).   Part 2 showed the results of the study In the management of teaching and learning Sports Education according to the needs in five aspects. The needs on the present state was at the high level ( =4,899, SD=0.624), it was found that the teachers and teaching was at the high level ( =4.345, SD=0.702), followed by the measurement and evaluation ( =4.107, SD=0.712), the program and physical education activities ( =3.816, SD = 0.799), and the facilities and equipment ( =3.482, SD=0.915). According to the overall condition, the result was at the high level ( = 4.499, SD=0.624). In details, it was found that the teachers and teaching was at the highest level ( = 4,638 SD=0.568), followed by the measurement and evaluation ( =4.549 SD=0.594), the program and physical education activities ( =4,477 SD=0.627), the facilities and equipment ( =4.455 SD=0.646), and the student’s condition ( =4.374, SD=0.684). Considering the Priority Index of Essential Education Requirements In the teaching and learning in Sports Education, the findings of the study showed that the overall condition was at 0.159. To elaborate, the facilities and equipment was the most important (PNImodified=0.279), followed by the student’s condition (PNImodified=0.197), the program and physical education activities (PNImodified=0.173), the measurement and evaluation (PNImodified=0.108), and the teachers and teaching (PNImodified=0.067). Regarding the faculty, an overview of the status quo was at the high level ( =3.911, S.D.=0.783). Considering each item, the overview of the current state of the Faculty of Education showed the highest average score ( = 4.796, SD=0.428), followed by the Faculty of Pharmacy ( = 4.631, SD=0.535), the Faculty of Arts ( =4.523 SD=0.622), the Faculty of Engineering and Industrial Technology ( = 4.474 SD=0.632), and the Faculty of Science ( = 3.448 SD=0.655). The overall PNI score was at 0.170. Considering each item, the study found that the Faculty of Education had the highest average score (PNImodified=0.210), followed by the Faculty of Pharmacy (PNImodified=0.179), The Faculty of Arts (PNImodified=0.177), the Faculty of Engineering and Industrial Technology (PNImodified=0.170), the Faculty of Science (PNImodified=0.140). According to Gender, the overall condition was at the highest level. The present state of female was at the highest level ( = 4.072, SD = 0.675), followed by the present state of male ( = 3.824 SD=0.656). The expected condition of female was at the highest level ( = 4.544 SD = 0.589), followed by that of male ( = 4.360 SD = 0.698). The PNI score for female was the highest (PNImodified= 0.121), followed by that for male (PNImodified =0.146). Part 3 revealed the results of the study according to the second objectives of the instructional guidelines on sports education that: 1) the facilities and equipment should be surveyed every semester in order to prepare and allocate budget for the purchase of sports equipment and for repairing defective equipment. The stadium must be coordinated with the agencies to plan budgeting for the stadium construction and additional supports from the private sectors. As for operation such as borrowing - return of equipment and service of the stadium staff should concern with service mind and the system that is convenient for students; 2) they should be aware of the benefits of exercises by applying them into their daily lives and for their further; 3) Teachers and instructors should have real implementation on the field and demonstrate the principles of physical education to establish confidence for students; 4) the program and physical education activities should have compatibilities between theories and practice to get students’ interests to attend and participate every lesson; 5) the measurement and evaluation is suggested that assessment should be done every time at the end of the lesson to encourage students to pay attention and attend every class. It will encourage students not to come late and be absent.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ