การบริหารจัดการเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนในรูปแบบคลัสเตอร์ (The school cluster management system)

Main Article Content

ทนันเดช ยงค์กมล (Thanundetch Yongkamol)
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี (Sakchai Nirunthawee)

Abstract

                 บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนในรูปแบบคลัสเตอร์ของกลุ่มโรงเรียน โดยเฉพาะในโรงเรียนซึ่งเป็นหลักให้ความรู้แก่ผู้เรียนในการยอมรับความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลง จึงถือเป็นบทบาทของผู้บริหารในการศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาและสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งรูปแบบที่มีความเหมาะสม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การวางระบบการบริหารและพัฒนาองค์กรอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน, การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้โดยมีวิจัยเป็นฐาน, การบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ อย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร และการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณ ด้วยประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาของไทย ส่วนทางด้านคุณภาพการศึกษานั้นไม่ว่าจะวัดจากคะแนนสอบ PISA คะแนนสอบ TIMSS โดยเฉลี่ยคะแนนนักเรียนจะอยู่ในอันดับท้าย ๆ หากมองเข้าไปในมุมของการประเมินคุณภาพการศึกษา พบว่า คุณภาพการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ สำหรับองคประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนในรูปแบบคลัสเตอร์ มุ่งหาคำตอบว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงใดที่จะบูรณาการความร่วมมือของโรงเรียนในเครือข่ายและการจัดการบริหารโรงเรียนเครือข่ายในเขตพื้นที่การศึกษาให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้น โดยได้มีการดำเนินการเป็นศูนย์โรงเรียน เครือข่ายความร่วมมือ และการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเป็นทางเลือกสำคัญเพื่อการเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของชุมชนและศูนย์โรงเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป


 


                The objective of this article is to investigate a guideline for school administration of administrators in educational management for the school cluster management system. Similarly, this problem happens in the school where is a knowledge resource for the students to acknowledge the diversity and change. This difficulty is counted as a role of this research were to study the components of the school management model. 21st Century Skills desired characteristics for student quality development consisted of 5 factors: 'the organizational development and participatory organizational development, curriculum development and learning process with base research. resource and budget management. learning management learner performance in technology and communication. For developing information and information systems to manage resources and budgets. The issue points to the effectiveness of Thai education. Quantitative indicators are: There are 5 disadvantaged children and youth in Thailand. Millions of people are outside the system and in the system, but have to leave the education system. The quality of education is measured by PISA scores. TIMSS. The average English language skills score in Thai is at the bottom. It was found that the overall quality of education was low. There is also research and development in the area for supporting learning quality of the children and youth (Local Learning enrichment Network : Fryer, R. H.,2000). The school cluster management system, the aim is to find out how it will be possible to integrate the cooperation of the schools in the group. The school administration and network management in the school area to interact. The goal is to increase the learning of students. It has been implemented as a school center (School Center) (Collaborative Networks and Integrated Learning Development. It can be seen that collaborative network management is an important alternative to Hub. Community and School Center (School Center). To lead the development of the learning potential of the students.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts