การพัฒนาพันธกิจความผูกพันมหาวิทยาลัยกับสังคมผ่านงานบริการวิชาการสู่ชุมชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (The Development of University Social Engagement Mission through Community Outreach Programs for Enhancing University Uniqueness: A Case of Kasetsart University)

Main Article Content

กันยารัตน์ เชี่ยวเวช (Kanyarat Chiewvech)
อาแว มะแส (Awae Masae)

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริการวิชาการสู่ชุมชนของมหาวิทยาลัยด้วยการนำแนวคิดพันธกิจความผูกพันมหาวิทยาลัยกับสังคม การตอบรับของชุมชน และแนวทางการพัฒนาพันธกิจความผูกพันมหาวิทยาลัยกับสังคมผ่านงานบริการวิชาการสู่ชุมชน พื้นที่การศึกษาคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และวิทยาเขต 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 63 คนจาก 3 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มกรรมการสภามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 31 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพันธกิจความผูกพันกับสังคม จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 29 คน การวิจัยครั้งนี้เสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกในชุมชน จำนวน 610 คน ผลการศึกษาพบว่างานบริการวิชาการและพันธกิจมหาวิทยาลัยที่สร้างความโดดเด่นกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นงานบริการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานไปประยุกต์ใช้ ที่ผ่านมาแม้จะมีการนำแนวคิดพันธกิจความผูกพันกับสังคมมาใช้ในงานบริการวิชาการ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่ดีพอ แต่ด้วยชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยที่มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเกษตรมาอย่างยาวนาน ทำให้ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพันธกิจความผูกพันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผ่านงานบริการวิชาการควรคำนึงถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่และสาขาวิชาแบบองค์รวม โดยจะต้องสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนด้วย ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรเตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะการทำงานของผู้บริหารและบุคลากรที่เหมาะสมกับการพัฒนาพันธกิจความผูกพันมหาวิทยาลัยกับสังคมและการพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของบุคลากร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนานโยบายพันธกิจความผูกพันมหาวิทยาลัยกับสังคม อันเกิดจากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และชุมชน


 


               This research aims at investigating the community outreach programs of a university through an application of the university social engagement concept, responses of target communities and guidelines for developing university social engagement missions through community outreach programs. The study sites are Kasetsart University at Bang Khen and its 3 campuses: Kampaengsaen, Sriracha, Chalermprakiat Sakon Nakhon. The qualitative research approach was mainly employed in the investigation through in-depth interviews with 63 key informants who were representatives of three groups: 31 informants from university council and administrators, 3 informants from social engagement experts, and 29 informants from the heads of communities. This method was supplemented the quantitative research by the survey of 610 members of target communities to find out their opinions on the university outreach programs and social engagement missions. Results reveal that leading university outreach programs are those related to agricultural occupation which is concerned with the application of bodies of knowledge that Kasetsart University has developed and accumulated for a long time. Even though there appear to be some applications of social engagement concept in the outreach programs in the past, they were not operated systematically enough. Nevertheless, the long reputation of the university with respect to its work in the field of agricultural development leads to highly positive responses from communities and societies.   However, the development of university social engagement missions should consider the importance of holistic development of areas and disciplines. At the same time, it should correspond to community problems and needs. Therefore, the university should be ready to develop capacities of both administrators and staff to fit with the advancement of the university social engagement missions and career path of its staff. The result are useful for the development of university social engagement mission through community outreach programs for appropriate university and community environments

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

Buasai, S.(2004). phalangthō̜ngthin : bot sangkhro̜ngānwičhaidānchumchon. Bangkok:The Thailand Research Fund.
สีลาภรณ์ บัวสาย.(2547). พลังท้องถิ่น: บทสังเคราะห์งานวิจัยด้านชุมชน.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Chanruang, S.(2001) phatthanākānkānsưksā Thai ʻadītpatčhubanlænaisahatwatmai. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing Press.
สมหมาย จันทร์เรือง.(2544). พัฒนาการการศึกษาไทย อดีต ปัจจุบัน และในสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Office of the Royal Development Projects Board.(2010). lakkān song ngānnaiphrabātsomdetphračhaoyūhūa (6thed). N.p.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.(2553). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 6). ม.ป.ท.

Panich, V.(2017). Cited in Knowledge Network Institute of Thailand. (2018). mahāwitthayālaihunsūansangkhomthīSahaRātchaʻānāčhak. Bangkok: Knowledge Network Institute of Thailand.
วิจารณ์ พานิช.(2560). อ้างถึงในสถาบันคลังสมองของชาติ.(2561). มหาวิทยาลัย หุ้นส่วนสังคมที่สหราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันคลังสมองของชาติ.

Ruenrom, G.(2013).Brandʻongkō̜n lækānpramœ̄nkhāBrandʻongkō̜n (Corporate brand success valuation). Bangkok: Cyber Print Co., Ltd.
กุณฑลี รื่นรมย์.(2556). Brand องค์กรและการประเมินค่า Brand องค์กร (Corporate brand success valuation). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไซเบอร์พริ้นท์ จำกัด.

Weber L.E.(2000). cited in Office of the Permanent Secretary.(2003). “khwāmpenʻitsarakhō̜ngmahāwitthayālailæmahāwitthayālainaikamkap”.mahāwitthayālainaikamkapkhō̜ng rat phāitaikhwāmrapphitchō̜p tō̜sangkhomphū rap bō̜rikānlæprayōtsāthārana. Bangkok: Parbpim Limited Partnership.
Weber L.E.(2000). อ้างถึงใน ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานปลัดทบวง.(2546). “ความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในกำกับ”.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้รับบริการและประโยชน์สาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Clayton, P. H., Bringle, R. G., Senor, B., Huq, J., and Morrison, M. 2010 quoted in Britner, Preston A.(2012). Bringing Public Engagement into an Academic Plan and Its Assessment Metrics.Journal of Higher Educaton Outreach and Engagement.16 (4): 73.

McClosekey, Donna. et al.(2011). Chapter 1 Community Engagement: Definitions and Organizing Concepts from the Literature. Clinical and Translational Science Awards Consortium Community Engagement Key Function Committee Task force on the Principles of Community Engagement.2nd Edition. Maryland: NIH Publication.